พัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วน

พัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วน

เปิดลงทุน 6 พันล้าน พัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วน ผุดมิกซ์ยูส-ที่พักริมทางปั๊มรายได้

พัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วน ภารกิจของ “กทพ.-การทางพิเศษแห่งประเทศไทย” นอกจากจะสร้างทางด่วนสายใหม่รองรับการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลแล้ว ยังต้องหารายได้จากการพัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วนเพิ่มเติมจากรายได้หลักมาจากค่าผ่านทาง

อ่านบทความรีวิวบ้านต่างๆ ได้ที่ รีวิว บ้านเดี่ยวศุภาลัย วิลล์ ท่าซัก

ประเดิม 7 พื้นที่กว่า 1 พันไร่

ล่าสุด “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กทพ.รายงานปัจจุบันมีเขตทางรวมทั้งหมด 2,900 ไร่ สามารถนำมาใช้เป็นสาธารณประโยชน์ได้ประมาณ 1,136 ไร่ หรือคิดเป็น 39.17% มีการพัฒนาไปแล้ว เช่น

การพัฒนาสวนหย่อม สวนสาธารณะ เส้นทางจักรยาน และทำเส้นทางลัด เป็นต้น และยังได้พิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพเพิ่มอีก 7 แห่ง จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป

1.บริเวณใต้ด่านอโศก 1 เนื้อที่ 3 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวพร้อมลู่วิ่ง ลานพักผ่อนและกิจกรรม โซนสันทนาการและลานจอดรถ จะส่งมอบพื้นที่ให้พันธมิตรรับไปพัฒนาได้ในเดือน พ.ย. 2564

2.บริเวณพื้นที่ร่วมบริการทางด่วนเพลินจิต เนื้อที่ 4.5 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่ร่วมบริการและลานกิจกรรม จะส่งมอบพื้นที่ให้พันธมิตรรับไปพัฒนาได้ในเดือน ก.ค. 2566

3.บริเวณศูนย์บริการทางด่วนบางโปรงของทางด่วนบางพลี-สุขสวัสดิ์ เนื้อที่ 50 ไร่ พัฒนาเป็น service center ครบวงจร จะเป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือ PPP

4.บริเวณพื้นที่บริการสังคม ทางด่วนสีลม เนื้อที่ 4 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่ร่วมบริการและลานกิจกรรม จะสามารถส่งมอบพื้นที่ให้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกได้ในเดือน ก.ย. 2566

5.บริเวณสถานที่บริการทางด่วนอุดรรัถยา (บางปะอิน-ปากเกร็ด) กม.16 เนื้อที่ 20 ไร่ พัฒนาเป็น service area ครบวงจร จะเป็นโครงการร่วมลงทุน PPP

6.พื้นที่ทางด่วนอุดรรัถยา บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต เนื้อที่ 98 ไร่ พัฒนาเป็น park & ride และโลจิสติกส์ เป็นโครงการร่วมลงทุน PPP และอาจจะพิจารณาความเป็นไปได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

7.พื้นที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เนื้อที่ 10 ไร่ พัฒนาเป็นศูนย์บริการรัฐวิสาหกิจ ร้านค้า skywalk และพื้นที่สาธารณะ จะส่งมอบพื้นที่ให้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกได้ในเดือน ก.ย. 2567 แต่งห้องนอน

นายศักดิ์สยามกล่าวอีกว่า กำชับ กทพ.การพัฒนาจะต้องสร้างรายได้ให้เพียงพอต่อการบริหาร และไม่เป็นภาระต่อภาครัฐ ทั้งนี้ การออกแบบโครงการจะต้องออกแบบให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้พื้นที่ด้วย และพิจารณาแนวทางร่วมลงทุนที่เหมาะสมให้ชัดเจนทั้งวงเงินลงทุนและผลตอบแทน

พัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วน

เปิดให้เอกชนลงทุน 6 พันล้าน

แหล่งข่าวจาก กทพ.กล่าวว่า การพัฒนาพื้นที่ทั้ง 7 แห่ง ทางที่ปรึกษาได้ศึกษาเสร็จแล้ว โดยคาดว่าทั้งหมดจะใช้เงินลงทุน 6,000 กว่าล้านบาท เนื่องจากมีบางพื้นที่ต้องสร้างทางขึ้นลงเพิ่มเติม เช่น ด่านบางโปรง ส่วนรายได้ที่ กทพ.จะได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการพัฒนาเพราะมีบางแห่งจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP ด้วย

“ปลายปีนี้จะนำร่องด่านอโศก 1 มอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนกรุง กำลังหารือเอกชน 2 รายที่เป็นพันธมิตรมาดำเนินการ เช่น บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM ผู้รับสัมปทานทางด่วน พัฒนาเป็นลานกิจกรรมให้ประชาชนพร้อมพื้นที่เชิงพาณิชย์ร้านค้าเป็นคีออสก์ และที่จอดรถ”

เปิดพิมพ์เขียวรูปแบบพัฒนา

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับแนวคิดการพัฒนาที่ปรึกษาออกแบบไว้ในส่วนของ “ด่านอโศก 1” แบ่งเป็น 4 โซน 1.โซนพื้นที่สีเขียว และจ็อกกิ้งแทร็ก มีสวนป่าขนาดย่อมใจกลางเมือง ภายในมีลู่เดินและวิ่ง 2.โซนพักผ่อนและจัดกิจกรรม มีที่นั่งพักผ่อน สันทนาการ สนามเด็กเล่น 3.โซนสันทนาการ เช่น สนามบาสฯ ลานสเกตบอร์ด ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง และ 4.โซนลานจอดรถ

“พื้นที่ทางด่วนเพลินจิต” ปัจจุบันพื้นที่มีสนามเด็กเล่น ลานอเนกประสงค์ สนามกีฬา พื้นที่จอดรถ ซึ่งพื้นที่โดยรอบโครงการยังไม่เป็นระเบียบ ไม่มีจุดเชื่อมต่อที่เหมาะสม

แต่ด้วยศักยภาพพื้นที่อยู่ใจกลางเมือง รายล้อมด้วยตลาดนัดขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน อาคารสำนักงาน และใกล้รถไฟฟ้าบีทีเอส แนวคิดการพัฒนาจะเป็นแบบผสมผสาน (มิกซ์ยูส) เช่น ศูนย์บริการรัฐวิสาหกิจ ร้านกาแฟและบาร์ ห้องประชุม ห้องทำงาน บริการพื้นที่จัดเก็บสิ่งของ พร้อมทั้งมีลานกิจกรรม

บูม 3 แปลงใหญ่

“พื้นที่ด่านบางโปรง” โครงการบ้าน รูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมเป็นที่พักริมทางขนาดใหญ่ ประกอบด้วยสำนักงานบริการและกระจายสินค้า ศูนย์บริการรัฐวิสาหกิจ พื้นที่ร้านค้า ลานจอดรถ ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส สถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถไฟฟ้า พื้นที่สีเขียว เป็นต้นเนื่องจากเป็นจุดศูนย์กลางระหว่างด่านปู่เจ้าสมิงพราย-ด่านปากน้ำ โดยรอบมีชุมชน หมู่บ้าน วัด โรงพยาบาล โรงเรียน และโรงงานอุตสาหกรรม ที่จะสามารถเข้ามาใช้บริการได้

“พื้นที่สีลม” อยู่ใต้ทางด่วนตัดถนนสุรวงศ์เยื้องไปทางย่านเจริญกรุง ติดกับย่านยานนาวาและช่องนนทรี รูปแบบเป็นพื้นที่บริการสังคม อาทิ มีทางเดินสกายวอล์ก ห้องน้ำ ร้านค้า ศูนย์บริการรัฐวิสาหกิจ ลานอเนกประสงค์ จุดจอดจักรยาน

“พื้นที่ กม.16” ทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด ปัจจุบันเป็นพื้นที่โล่ง 2 ฝั่ง อยู่ระหว่างด่านเมืองทองธานี-บางปะอิน เหมาะพัฒนาเป็นที่พักริมทางขนาดกลาง อาทิ ร้านค้า สถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ ศูนย์บริการรัฐวิสาหกิจ ห้องน้ำ สถานีบริการน้ำมัน ที่จอดรถ สำนักงานบริการและกระจายสินค้า เป็นต้น

“พื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” อยู่หลังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นที่โล่ง 98 ไร่ อยู่นอกเขตทางด่วน แนวคิดการพัฒนาเป็นศูนย์บริการโลจิสติกส์ มีจุดจอดแล้วจร เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง พื้นที่ร้านค้า บริการ สถานีขนส่งสาธารณะ สำนักงาน ศูนย์บริการให้เช่าจัดเก็บสิ่งของ ศูนย์บริการรัฐวิสาหกิจ สถานีบริการน้ำมัน ศูนย์บริการรถยนต์ ศูนย์บริการและกระจายสินค้า ลานจอดรถใต้อาคาร อาคารพักอาศัย โรงแรม

“พื้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” แนวคิดพัฒนาศูนย์บริการสังคม เช่น ศูนย์บริการรัฐวิสาหกิจ อาคารร้านค้า ศูนย์บริการรับฝากของ ทางเดินลอยฟ้า ห้องน้ำสาธารณะ ที่จอดรถ ลานอเนกประสงค์ พื้นที่สีเขียว เป็นต้น

อ่านบทความเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ได้ที่ โครงการคอนโด คอนโด เคฟ ศาลายา เคฟ ศาลายา