ต้นไม้ดูดสารพิษ เป็นที่สงสัยกัน ทำไม ต้นไม้ฟอกอากาศ หรือ ดูดสารพิษได้ แล้วยังปลูกในบ้านได้ด้วย ทั้งๆ ที่ตอนเด็กเคยร่ำเรียนกันมาว่าต้นไม้จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในตอนกลางคืน จึงไม่ควรปลูกต้นไม้ไว้ภายในห้องโดยเฉพาะห้องนอน

ต้นไม้ดูดสารพิษ ภายในและนอกบ้าน

แต่สิ่งที่เปลี่ยนแนวคิดดั่งเดิมคืองานวิจัยของนาซ่าที่ค้นพบว่ามี ต้นไม้ บางชนิดที่สามารถดูดสารพิษ ช่วยฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ได้ ซึ่งมีหลายชนิดสามารถปลูกได้ทั้งในบ้านได้และนอกบ้าน และยังปลูกได้ดีในเมืองไทย เป็นต้นไม้พื้นถิ่นในเขตร้อนชื้น 

กระแสตื่นตัวกลายเป็นเทรนด์ใหม่สำหรับการตกแต่งบ้าน เมื่อต้นไม้เหล่านั้นถูกจัดวางให้เป็นส่วนหนึ่งภายในห้องเช่นเดียวกับเฟอร์นิเจอร์ หรือพร็อพเพิ่มความสวยงาม ซึ่งสาเหตุที่ต้นไม้สามารถดูดสารพิษในอากาศได้นั้นอธิบายแบบเข้าใจง่ายได้ว่า

ดูดสารพิษผ่านกระบวนการคายน้ำทางปากใบ

 ต้นไม้ฟอกอากาศ จะมีการคายน้ำที่สูงกว่าต้นไม้ชนิดอื่น ในกระบวนการคายน้ำจะทำให้อุณหภูมิบนผิวใบไม้แตกต่างจากอากาศภายนอก เกิดการหมุนเวียนของอากาศรอบๆ ทำให้อากาศที่มีสารพิษไหลลงสู่บริเวณรากพืชที่มีจุลินทรีย์ที่ถูกดึงดูดไว้จำนวนมาก และจุลินทรีย์จะทำการย่อยสารพิษให้กลายเป็นอาหารของพืช

 ดูดสารพิษผ่านการดูดน้ำจากราก

ในการรดน้ำต้นไม้ที่บริเวณโคนต้น น้ำจะซึมลงรากแล้ว ต้นไม้ จะดูดน้ำไปใช้ยังส่วนต่างๆ อย่างรวดเร็ว ในกระบวนการนี้อากาศที่ประกอบไปด้วยออกซิเจน ไนโตรเจน และสารพิษที่ปนเปื้อนจะถูกดึงไปสู่ดินรอบๆ ราก จุลินทรีย์จะเปลี่ยนสารพิษที่มากับอากาศให้กลายเป็นอาหารของพืช

 ดูดสารพิษผ่านการดูดอากาศ

ในขณะเดียวกันนี้ เมื่อ ต้นไม้ดูดอากาศ ที่ปนเปื้อนสารพิษเข้าทางปากใบ ส่งต่อไปยังราก จากรากไปสู่ดิน และจุลินทรีย์ที่อยู่รอบๆ รากจะย่อยสารพิษเหล่านั้น

ต้นไม้ดูดสารพิษภายในบ้าน

ต้นไม้ฟอกอากาศ สามารถปลูกได้ทั้งในบ้านและมีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่   จั๋ง เสน่ห์จันแดง เศรษฐีเรือนแก้ว เฟินบอสตัน  เขียวหมื่นปี ยางอินเดีย เดหลี พลูด่าง  ฟิโลก้านแดง ฟิโลใบมะระกอ เสน่ห์จันทร์แดง ว่านหางจระเข้ เป็นต้น

 1. เขียวหมื่นปี (Chinese Evergreen)

ต้นไม้ดูดสารพิษ

ต้นเขียวหมื่นปี มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Chinese Evergreen และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aglaonema crispum ลำต้นเป็นก้านชูตรง และใบมีลักษณะแผ่กว้าง มีสีสันด่างสวยงามในเฉด สีชมพู สีแดง สีส้ม สีเหลือง และสีเทา สารพิษที่ต้นเขียวหมื่นปีดูดซับได้ อาทิ เบนซิน, ฟอร์มัลดีไฮด์, คาร์บอนมอนนอกไซด์, ไตรคลอโรเอทีลีน

2. ยางอินเดีย (Rubber Tree)

ต้นไม้ดูดสารพิษ

ต้นยางอินเดีย มีหลากหลายสีสัน ทั้งสีเขียว และอมม่วง ไม่ว่าจะสีไหนต้นยางอินเดียก็ได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้ที่ให้ออกซิเจนสูง และมีสารจากต้นที่ช่วยยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ในดิน สารพิษที่ต้นยางอินเดียดูดซับไปใช้กับการเติบโต คือ ฟอร์มัลดีไฮด์

3. พลูด่าง (Golden Pothos)

พลูด่าง (Golden Pothos)

ต้นพลูด่างมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epipremnum aureum. เป็นต้นไม้ปลูกง่ายในบ้าน ในที่ร่ม จะเลี้ยงในกระถางหรือแจกันก็โตง่าย มีสีสันลวดลายด่างที่สวยงาม เป็นไม้เลื้อยที่ต้องระมัดระวังการแตกกิ่งเลื้อยไปตามขอบหน้าต่าง โตได้ในแสงธรรมชาติและแสงจากหลอดไฟ

 4. ฟิโลหูช้าง (Philodendron domesticum)

ต้นฟิโลหูช้าง หรือ Elephant Ear Philodendron เป็นญาติกับฟิโลใบหัวใจ แต่มีลักษณะใบเรียวยาวกว่า บางต้นที่มีลักษณะด่างขายได้ราคาสูง

 5. ต้นเดหลี (Peach Lily)

ต้นเดหลี (Peach Lily)

ต้นเดหลีเป็นต้นไม้ที่มีความสวยงามในตนเอง มีใบเป็นสีเขียวเข้มสด และให้ดอกสีขาวสวยงาม หน้าตาคล้ายดอกหน้าวัวที่จะเริ่มบานในช่วงฤดูร้อน สารพิษที่ดูดซับได้ อาทิ เบนซีน, ไตรคลอโรเอทิลีน และฟอร์มัลดีไฮด์

ต้นไม้ดูดสารพิษนอกบ้าน

ต้นไม้ฟอกอากาศ สามารถปลูกได้ทั้งในบ้านและมีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ โกสน เยอบีร่า เบญมาส หน้าวัว วาสนา

เศรษฐีเรือนใน สาวน้อยปะแป้ง สับปะรดสี

1. สาวน้อยประแป้ง (Dumb Cane)

สาวน้อยประแป้ง เป็นไม้สกุล Dieffenbachia ชอบอากาศร้อนชื้น เติบโตได้ดีในแสงแดดทั้งภายในและภายนอกอาคาร นำมาจัดกระถางใหญ่ ตั้งอยู่ถามโถงรับรองได้สวยงาม แต่ใบมีอันตราย ไม่ควรปลูกในบ้านที่มีเด็กเล็ก และสัตว์เลี้ยงที่อาจสัมผัสยางทางการรับประทาน และถูกผิวหนัง

2. เศรษฐีเรือนใน (Spider Plant)

เศรษฐีเรือนใน เป็นต้นไม้ฟอกอากาศที่นิยมทั้งไทยและต่างประเทศ ด้วยชื่อที่เป็นต้นไม้มงคล และรูปลักษณ์ที่สวยงาม มองเห็นลวดลายเป็นริ้วที่กลางใบ นิยมวางไว้ในบ้าน เพราะไม่เป็นพิษต่อเด็กและสัตว์เลี้ยง สารพิษที่ดูดซับฟอกอากาศ ได้แก่ คาร์บอนมอนนอกไซด์, เบนซิน, สไตรีน, ฟอร์มัลดีไฮด์, ไซลีน, โทลูอีน เป็นต้น

3. โกสน (Croton)

โกสน (Croton)

โกสน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Codiaeum variegatum pictum. เหมาะสำหรับปลูกไว้รอบๆ อาคาร เพราะชอบแสงแดดจัด นอกจากนี้โกสนยังจัดเป็นไม้มงคล ที่มีความหมายเสริมบารมี คุ้มครองให้ผู้อยู่อาศัยอยู่เย็นเป็นสุข

4. หน้าวัว (Flamingo Lily)

ต้นหน้าวัว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anthurium Scherzerianum มีหลากหลายสีสัน บางสายพันธุ์มีดอกสีแดงคล้ายกับนกฟลามิงโก้ นำมาเลี้ยงปลูกในกระถางใบเล็กๆ ได้ เมื่อกอเริ่มแน่นกระถาง ก็ขยายกระถาง หรือ ปลูกลงดินจัดสวนได้สวยงาม

 5. เบญจมาศ (Pot Mum)

เบญจมาศ (Pot Mum)

ต้นเบญจมาศ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chrysanthemum morifolium. เป็นไม้ดอกที่ให้สีสันสดใส หลากหลาย ตั้งแต่สีเหลือง สีแดง สีลาเวนเดอร์ และสีม่วง ทำให้บ้านดูมีชีวิตชีวา

ตำแหน่งวางต้นไม้ภายในห้อง

หลักการวางต้นไม้ฟอกอากาศในบ้าน คือต้องเลือกวางในตำแหน่งที่มีแสงส่องถึง เพื่อให้กระบวนการฟอกอากาศ ของต้นไม้เต็มประสิทธิผล ไม่ว่าจะเป็นการคายน้ำ ดูดซึมน้ำ หรือดูดอากาศ และกระบวนการ สังเคราะห์ก็ล้วนแต่ต้องใช้แสงแดดเป็นส่วนสำคัญ ส่วนระยะในการวางนั้น ให้คำนึงไว้ว่า เขตการหายใจของคนเรา จะใช้พื้นที่ประมาณประมาณ 0.17-0.23 ลูกบาศก์เมตร หากวางต้นไม้ในเขตหายใจ ต้นไม้จะช่วยฟอกอากาศพิษจากร่างกายมนุษย์ได้ด้วย

สำหรับห้องนอน ซึ่งเป็นห้องที่เราต้องใช้ใน ตอนกลางคืนซึ่งเป็นช่วงที่ต้นไม้ปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมานั้น  มีต้นไม้อยู่หลายชนิดที่คายก๊าซคาร์บอนฯในตอนกลางวัน แล้วปล่อย ออกซิเจนในตอนกลางคืน เช่น ลิ้นมังกร ว่านหางจระเข้ จึงเหมาะที่จะว่างอยู่ในตำแหน่งใกล้ เตียงนอน แต่หากเป็นต้นไม้ชนิด อื่นสามารถวางในห้องนอนได้ เช่นกันแต่ต้องมีระยะห่างให้พ้นกับเขตหายใจ

สำหรับพื้นที่นอกบ้าน อย่างในสวน มีต้นไม้หลายชนิดที่เลือกปลูกได้ หากเป็นต้นไม้ใหญ่จะ ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี อย่างจามจุรี พญาสัตบรรณ ทั้งยังช่วยจับฝุ่นไม่ให้ ปลิวเข้าสู่ภายในบ้านได้ดีด้วย ดังนั้น การจัดสวนหรือปลูกต้นไม้รอบบ้านจึงเป็นหนึ่งในวิธีการแก้ปัญหามลพิษทาง อากาศที่ต้นเหตุ ซึ่งหลายๆ ประเทศได้วิจัยแล้วว่าได้ผลจริง

อ่านบทความที่หน้าสนใจ : แบบบ้าน Villas Phuket รีวิวบ้าน phuket property บ้านเดี่ยว POOL VILLA บ้านจัดสรร PHUKET VILLA  ขายวิลล่าภูเก็ต ขายบ้านภูเก็ต invest in phuket property phuket villa for saleรีวิวบ้าน ขายวิลล่าภูเก็ต ขายบ้านภูเก็ต ซื้อบ้าน ตกแต่งบ้าน