บ้านไม้หลังคาใหญ่

บ้านไม้หลังคาใหญ่  ออกแบบได้เหมือนใส่หมวก โชว์ไม้ทั้งหลัง

บ้านไม้หลังคาใหญ่

บ้านไม้หลังคาใหญ่ บ้านโชว์โครงสร้างไม้หลังคาใหญ่งบประมาณเพียงเล็กน้อยสามารถสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้ อาคารหลังนี้ในเมืองเล็กๆของญี่ปุ่นอย่าง Engaru จะพิสูจน์ให้เห็นว่ากฎนี้ไม่ใช่แค่วลีที่พุดขึ้นอย่างลอยๆ ด้วยการวางแผนอย่างดี และมีทีมงานออกแบบที่มีความคิดสร้างสรรค์ ฝีมือเนี๊ยบ ตัวอาคารทำจากวัสดุหลักคือไม้ที่ดูไม่เหมือนอาคารหลังไหน ๆ 

ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งอาคารหลังใหม่นี้ไม่เพียงแต่น่าดึงดูดใจในแง่ของรูปทรงเท่านั้น การตกแต่งภายในยังสวยงามมาพร้อมอิสระสูงสุดสำหรับผู้อยู่อาศัย แม้จะไม่ได้มีความซับซ้อน ไม่ได้ใช้วัสดุหรูหราหวือหวา ก็ยังสร้างความประทับใจได้อยู่ดี

เป็นชื่ออาคารที่ออกแบบโดยสถาปนิก jun igarashi สร้างขึ้นด้วยงบประมาณจำกัดและข้อบังคับเฉพาะพื้นที่ ที่ตั้งอยู่ในชานเมืองเอ็นงุรุทางตะวันออกเฉียงเหนือของฮอกไกโด ชื่อเมืองแปลว่า “จุดชมวิว” จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมที่นี่สวยงามอยู่ท่ามกลางทิวทัศน์ชวนฝันที่โอบล้อมด้วยขุนเขาแมกไม้ สถาปนิก Jun Igarashi ได้สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างจุดชมวิวของตัวเองด้วยวิวเมือง

และธรรมชาติแบบพาโนรามา และใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมโดยปล่อยให้องค์ประกอบโครงสร้างไม้ถูกเปิดเผย และใช้เทคนิคการก่อสร้างที่ตรงไปตรงมาจนกลายเป็นอาคารที่มีหลังคาเหมือนหมวกขนาดใหญ่

ด้วยข้อบังคับอาคารในท้องถิ่น ซึ่งต้องมีฐานรากที่ลึกลงไปอย่างน้อย 90 เซนติเมตร Jun Igarashi จึงลดระดับอาคารลงไปใต้ดินเห็นชั้นล่างเตี้ยๆ ชั้นบนเลือกใช้โครงสร้างไม้ราคาไม่แพง (แต่ในไทยราคาก่อสร้างน่าจะสูงกว่าเพราะไม้ดีๆ สนนราคาไม่ถูกเลย) ซึ่งมีการวางคานไม้โชว์อย่างเปิดเผยระหว่างชั้นมีระเบียงไม้ยื่นออกมารอบๆ ไม้กระดานถูกซ้อนทับกันและมีประตูหน้าต่างที่เปิดโล่งได้รอบๆ ก่อตัวเป็นโครงสร้างที่น่าประทับใจ จนมีชื่อเรียกไปต่างๆ ว่า อาคาร “สี่เหลี่ยมผืนผ้าใต้โครงหลังคา”, “โรงน้ำชา”,  “สี่เหลี่ยมผืนผ้าแห่งแสง”  บ้านจัดสรร

สถาปนิกใช้แนวทางการสร้างอย่างสนุกสนาน เริ่มจากขุดชั้นล่างลงไปในดินตามค่าที่ทางหน่วยงานกำหนด ในชั้นล่างนี้ Igarashi ได้จัดวางพื้นที่นั่งเล่นที่ต้องการความเงียบสงบและจัดโซนที่เป็นส่วนตัว ได้แก่ ห้องน้ำ ห้องนอน ห้องสมุด และพื้นที่ทำงาน โดยมีส่วนหน้าต่างอยู่เหนือพื้นดินขึ้นมาให้มองเห็นความเคลื่อนไหวภายนอกได้ แต่คนที่ผ่านไปมาไม่สามารถมองลึกเข้ามาภายในได้

บ้านไม้หลังคาใหญ่

จากชั้นล่างจะมีบันไดวนเหล็กสีขาวนำทางขึ้นมาสู่พื้นที่ใช้ชีวิตประจำวันหลัก ๆ ที่ชั้นบน

ห้องน้ำ

ชั้นบน สถาปนิกปล่อยให้โครงสร้างไม้เปิดออกทั้งหมด คาน เสา เพดาน และสายเหล็กที่แข็งแรงเป็นโครงสร้างสามมิติที่สามารถถอดแยกชิ้นส่วนออกเป็นส่วนๆ ได้เกือบทั้งหมดหากจำเป็น ด้วยต้องคลายสกรูเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น แต่จุดเด่นของโครงสร้างที่เป็นเอกลักษณ์นี้ คือ หลังคา ซึ่งอยู่บนยอด Hat H ลักษณะคล้ายหมวกแบนๆ ที่ยื่นออกไปค่อนข้างกว้างทั้งสี่ด้านทำหน้าที่ปกป้องภายในอาคาร  ไม่ว่าจะแดดแรงหรือฝน ผู้อยู่อาศัยสามารถเปิดหน้าต่างทิ้งไว้ได้ในเกือบทุกสภาพอากาศโดยไม่ต้องกังวล

ในส่วนของพื้นที่ใช้สอยชั้นบนจะเท่ากับชั้นล่าง แต่สถาปนิกเสริมพื้นที่ใช้งานด้วยการต่อชานไม้โดยรอบที่ยื่นออกไป 1.8 เมตร และมีประตูกระจกบานเปิดที่เชื่อมต่อพื้นที่ออกไปได้ทุกด้าน ทำให้รู้สึกว่าห้องนั่งเล่นและห้องรับประทานอาหารที่กว้างขวางของHat H เชื่อมต่อสภาพแวดล้อมของเมืองอย่างสมบูรณ์ เหมือนสร้างเวทีขนาดใหญ่ที่เปิดเป็น “จุดชมวิว” ตามความตั้งใจได้อย่างสมบูรณ์ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด

โต๊ะอาหาร

บ้านที่มีโคงสร้างเป็นไม้แท้ ทั้งผนังและโครงสร้างหลังคา ส่วนที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่รุนแรงทั้งแสงแดดและความชื้นจากฝน ต้องเลือกชนิดของไม้ที่มีความทนทาน ไม่ขึ้นราดำผุพังง่าย ปลวกไม่กิน ซึ่งในประเทศซีกโลกตะวันตกจะใช้ไม้ซีดาร์ ในญี่ปุ่นนิยมใช้ไม้เมเปิ้ล ไม้ฮิโนกิ ส่วนในประเทศไทยจะใช้ไม้สัก ที่มีราคาแพงมากขึ้นในปัจจุบัน หากเลือกใช้ไม้ชนิดอื่นต้องทำการอบ อาบน้ำยากันเชื้อรา กันปลวกและเคลือบกันน้ำเพื่อยืดอายุการใช้งานเสียก่อน

ข้อดีและข้อเสียของบ้านไม้

ข้อดีบ้านไม้

  • แม้ไม้จะมีคุณสมบัติป้องกันความร้อนได้ไม่ดีนัก แต่ก็ถ่ายเทความร้อนได้รวดเร็ว บ้านที่ปลูกสร้างด้วยไม้จึงเย็นสบาย ไม่อบอ้าว เป็นคุณสมบัติที่วัสดุอื่นๆ ทําไม่ได้ เหมาะกับสภาพอากาศเมืองร้อนชื้นแบบไทย
  • ไม้มีเสน่ห์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นสีสันลวดลายที่ไม่ซ้ํากันในแต่ละแผ่นหรือท่อน ผิวสัมผัสที่ให้ความรู้สึกถึงธรรมชาตินุ่มนวล ไม้จึงเป็นวัสดุในอุดมคติของทั้งเจ้าของบ้านและนักออกแบบตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
  • ในเรื่องของความแข็งแรง หากเกิดแผ่นดินไหว บ้านไม้จะมีความยืดหยุ่น คงทน และแข็งแรง
  • อย่าเข้าใจผิดว่า บ้านไม้ เป็นสิ่งทำลายธรรมชาติ เพราะไม้เมื่อนำมาใช้แล้วเราสามารถกลับไปปลูกทดแทนได้ ต่างจากบ้านปูนที่จะได้มาต้องระเบิดภูเขา
ห้องนั่งเล่น

ข้อเสียบ้านไม้

  • อีกทางเลือกหนึ่งในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้านไม้ คือ การสร้างบ้านไม้ผสมกับวัสดุอื่นๆ จะช่วยลดราคาค่าก่อสร้างได้มาก เช่น บ้าน ที่ชั้นล่างเป็นปูนและชั้นบนเป็นไม้ หรืออาจหาซื้
  • อบ้านไม้เก่าแล้วรื้อเอาไม้มาใช้ก่อสร้างบ้านใหม่ ก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เช่นกัน
  • งานไม้โครงสร้างหรืองานภายนอกควรใช้ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้แดง และไม้ประดู่เท่านั้น เพราะมีความแข็งแรงสามารถรับแรงได้ดี อีกทั้งยังทนทานต่อการผุ ส่วนไม้สักถือเป็นไม้เนื้ออ่อน ไม้ทนแดด แต่ทนทานต่อการผุมาก เหมาะสําหรับงานภายในหรืองานเฟอร์นิเจอร์มากกว่า

โครงสร้างหลังคาไม้

ข้อดี สามารถติดตั้งได้สะดวก ช่างธรรมดาสามารถติด ตั้งได้ เหมาะสำหรับบ้านไม้ เพราะการยึดติดกับเสาและคาน สามารถทำได้สะดวก

ข้อเสีย มีราคาค่อนข้างแพง และหาไม้ที่มีคุณภาพดีได้ ยาก มีการบิดงอง่าย ไม่เที่ยงตรง และมีปัญหาเกี่ยวกับปลวก

เรื่องควรรู้ เมื่อสร้างบ้านอยู่เอง

1. สำรวจทำเลที่ตั้งหรือที่ดินสำหรับปลูกสร้าง

พื้นที่ปลูกสร้างถือเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ของการสร้างบ้าน ผู้ปลูกสร้างบ้านเองควรคำนึงถึงความสะดวกสบายที่พื้นที่นั้นจะเอื้อประโยชน์และอำนวยความสะดวกให้มากที่สุด เช่น การเดินทางจากบ้านไปที่ทำงาน ไปสถานที่สำคัญต่างๆ การเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ และความปลอดภัยของย่านที่อยู่อาศัย รวมถึงเส้นทางเข้าออกบ้านซึ่งทางที่ดีควรมีมากกว่า 1 เส้นทาง

2. ทิศทางแดด ลม การวางแปลนบ้าน

การวางทิศทางแสงแดด ลม ตำแหน่งแปลนบ้านที่ดี จะช่วยให้การอยู่อาศัยนั้นสะดวกสบาย ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยทิศทางแสงแดดจะวิ่งเป็นแนวตะวันออกไปทางทิศใต้แล้วสิ้นสุดที่ทิศตะวันตก เหมาะสำหรับห้องที่สมาชิกในบ้านไม่ได้ใช้เวลาอยู่นานนัก หรือห้องที่ต้องการแสงแดดเพื่อลดความชื้น เช่น ห้องครัว ห้องน้ำ พื้นที่ซักล้าง ส่วนทิศเหนือเป็นมุมที่ไม่ถูกรบกวนจากแสงแดดมากสามารถวางตำแหน่งให้เป็นห้องนอน และห้องนั่งเล่นได้ ในเรื่องของทิศทางลม บ้านที่ดีควรหันด้านยาวของตัวบ้านเข้าหาลมเพื่อเพิ่มพื้นที่การรับลมธรรมชาติเข้าบ้าน ช่วยระบายความร้านภายใน และลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศ

3. จำนวนสมาชิกผู้พักอาศัย และความต้องการพื้นฐาน

จำนวนสมาชิกและความต้องการของผู้อยู่อาศัย มีผลต่อการออกแบบบ้าน จำนวนชั้น การจัดสรรพื้นที่ใช้สอย และการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง โดยความต้องการนั้นควรมองทั้งความต้องการส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคน ความต้องการโดยรวมเรื่องสไตล์บ้านและแนวคิดเรื่องบ้านที่ต้องการ เช่น บ้านประหยัดพลังงาน บ้านเพื่อผู้สูงอายุ บ้านสำหรับครอบครัวใหญ่ เพื่อการสร้างบ้านในฝันนั้นตอบโจทย์ทุกความต้องการ

4. ขนาดพื้นที่ใช้สอย

พื้นที่ใช้สอยมีผลต่อการตัดสินใจเลือกแบบบ้าน ควรดูรูปแบบและความสัมพันธ์ของห้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก ห้องครัว ให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ ความต้องการของสมาชิกในบ้าน เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการพักอาศัยและการใช้งานได้มากที่สุด

5. งบประมาณสำหรับการสร้างบ้าน

งบประมาณคือปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจสร้างบ้าน การตั้งงบประมาณไว้อย่างรอบคอบและรัดกุมจะช่วยให้ได้บ้านที่ตอบโจทย์มากที่สุด และไม่เกิดปัญหางบบานปลายภายหลัง ทำให้เจ้าของบ้านมีคำตอบที่ชัดเจนและง่ายต่อการตัดสินใจสร้างบ้าน การเลือกแบบ วิธีการสร้าง ขนาดพื้นที่ รวมถึงการใช้จ่ายเพื่องานตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ สิ่งก่อสร้างหรือสิ่งอำนวยความสะดวกรอบบริเวณบ้าน และพื้นที่สวนด้วย

6. ช่วงเวลาและขั้นตอนของการสร้างบ้าน

การกำหนดระยะเวลาของการสร้างบ้าน จะช่วยให้สามารถวางแผนล่วงหน้าในงานก่อสร้างขั้นตอนต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ไร้ปัญหาระหว่างงาน เพราะหากระยะเวลาก่อสร้างยืดเยื้อ ช่วงเวลาการทำงานไม่เป็นระบบ ไม่รู้ขอบเขตงานที่แน่นอน อาจมีปัจจัยอื่นที่ก่อให้เกิดปัญหาลากยาวไม่สิ้นสุดตามมา เช่น ฤดูกาลทำให้บางขั้นตอนของงานสร้างใช้เวลามากกว่าปกติ การดำเนินการด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบ้านไม่รองรับขั้นตอนการดำเนินงาน รวมถึงการเตรียมงบประมาณสำหรับจ่ายในขั้นตอนต่างๆ สะดุด

7. ทำความเข้าใจแบบบ้านที่ต้องการ

เจ้าของบ้านส่วนใหญ่มีประสบการณ์การสร้างบ้านอยู่เองครั้งแรก แต่เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลักในการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง งบประมาณ หรือปัญหาจิปาถะที่อาจเกิดขึ้นระหว่างงานก่อสร้าง ดังนั้นเพื่อให้ความต้องการที่จะสื่อสารกับสถาปนิก วิศวกร หรือคนทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น ได้ความเข้าใจตรงกัน เจ้าของบ้านควรให้เวลาศึกษา ทำความเข้าใจแบบบ้านที่ต้องการ เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ระหว่างการพูดคุยวางแผน ทำให้เกิดความราบรื่นมากขึ้น

8. การขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน

เอกสารขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน สามารถดำเนินการต่อสำนักงานเขตท้องถิ่นในพื้นที่ที่กำลังจะสร้างบ้านได้ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการสร้างบ้านที่ถูกต้อง มีมาตรฐาน ไม่สร้างผลกระทบต่อผู้อื่น โดยเอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้

• เอกสารคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร (ข.1)

• แบบแปลนแผนผัง

• หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ออกแบบ สถาปนิก วิศวกร พร้อมสำเนาใบอนุญาต

• สำเนาโฉนดที่ดินที่จะก่อสร้าง

• สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้านเจ้าของอาคาร

9. เลือกใช้มืออาชีพอย่างบริษัทรับสร้างบ้าน

บ้านที่ตอบโจทย์ งบไม่บานปลาย และสร้างบ้านแล้วได้บ้านอย่างที่ใจหวังนั้น บริษัทรับสร้างบ้านยังคงเป็นทางเลือกครองใจคนสร้างบ้าน โดยก่อนตัดสินใจเลือกบริษัทรับสร้างบ้าน ควรทำความรู้จักแต่ละบริษัท เปรียบเทียบผลงาน ความน่าเชื่อถือ บริการก่อนและหลังสร้างบ้านเสร็จ การดูแลรักษา การตรวจสอบข้อบกพร่องการรับประกันโครงสร้างหลังสร้างบ้าน ใบอนุญาตการดำเนินงานและมาตรฐานของบริษัท รวมถึงเครือข่ายบริษัทวัสดุที่ใช้ในการดำเนินงานก่อสร้าง โดยควรใช้เวลาพิจารณาอย่างค่อยเป็นค่อยไป และรอบคอบมากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดข้อยุ่งยากตามมาภายหลัง บ้านเดี่ยว บ้านแฝด

10. เยี่ยมชมงาน รับสร้างบ้าน FOCUS 2020

มหกรรมเปิดโลกงานสร้างบ้านที่เจ้าของบ้านไม่ควรพลาด เพราะนอกจากจะได้พบกับแบบบ้านกว่า 1,000 แบบ จากบริษัทรับสร้างบ้านชั้นนำแล้ว ยังได้อัพเดตข่าวสารที่ครอบคลุมทุกเรื่องการสร้างบ้าน แบบบ้านใหม่ๆ นวัตกรรมงานสร้างบ้าน รวมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และไขข้อสงสัยต่างๆ กับสถาปนิกมืออาชีพได้อีกด้วย