บ้านสไตล์โคโลเนียล
บ้านสไตล์โคโลเนียล บ้านสไตล์โคโลเนียลเป็นบ้านที่มีเอกลักษณ์บ่งบอกตัวตนของเจ้าของบ้าน หากคุณกำลังมองหาบ้านสวย ๆ มีเอกลักษณ์น่าสนใจผสมผสานความงามระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกและกลิ่นอายความดั้งเดิมของไทยอย่างลงตัว ลองมาดู 6 ลักษณะของบ้านสไตล์โคโลเนียลว่าน่าสนใจอย่างไร
บ้านสไตล์โคโลเนียล หรือที่เรียกว่า บ้านสไตล์อาณานิคม เป็นสไตล์บ้านที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก นิยมสร้างในช่วงยุคอาณานิคม โดดเด่นด้วยความงดงาม สง่างาม ผสมผสานกลิ่นอายของอดีต
เอกลักษณ์ของบ้านสไตล์โคโลเนียล
- รูปทรง: เรียบง่าย สมมาตร เน้นรูปทรงเรขาคณิต มักมีหลังคาทรงจั่ว ทรงปั้นหยา หรือทรงมะนิลา
- ผนัง: นิยมใช้ปูนฉาบ ทาสีขาว ครีม หรือสีพาสเทล บางหลังตกแต่งด้วยบัวปูน ซุ้มประตู หน้าต่าง
- หน้าต่าง: บานใหญ่ โปร่ง ระบายอากาศได้ดี กรอบหน้าต่างมักเป็นไม้ เหล็ก หรืออลูมิเนียม
- ประตู: บานไม้ บานคู่ มักมีซุ้มประตูโค้งมน ตกแต่งด้วยบัวปูน ลวดลายประณีต
- เฉลียง: กว้างขวาง โปร่ง เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ รับแขก ชมวิว
- ระเบียง: รอบตัวบ้าน เพิ่มพื้นที่ใช้สอย รับลม ชมวิว
- สวน: ร่มรื่น ตกแต่งด้วยต้นไม้ ดอกไม้ เพิ่มความสดชื่น ร่มรื่น
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
- ลักษณะของบ้านสไตล์โคโลเนียล
- รูปแบบบ้านสไตล์โคโลเนียลที่โดดเด่น
- บ้านสไตล์โคโลเนียลเหมาะกับไลฟ์สไตล์แบบไหน
6 ลักษณะความงามที่โดดเด่นของบ้านสไตล์โคโลเนียล
บ้านสไตล์โคโลเนียลมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวที่ผสานความงามของวัฒนธรรมตะวันตกกับความเป็นไทยได้อย่างลงตัว โดยบ้านสไตล์โคโลเนียลประกอบด้วยลักษณะเด่นดังนี้
1. รูปทรงอาคารของบ้านสไตล์โคโลเนียล
บ้านสไตล์โคโลเนียลแบบดั้งเดิมนิยมสร้างตัวอาคารเป็นสี่เหลี่ยมแบบสมมาตรที่มีลักษณะเหมือนกันทั้ง 2 ด้าน ซึ่งบางครั้งการแบ่งโซนของบ้านสไตล์โคโลเนียลจะถูกเรียกว่า “ปีกซ้าย” กับ “ปีกขวา” ของบ้าน เนื่องจากในแต่ละปีกของบ้านสไตล์โคโลเนียลมักออกแบบให้ห้องหรือการตกแต่งคล้ายกัน โครงสร้างของบ้านสไตล์โคโลเนียลจะมีความแข็งแรงและเน้นให้มีความโปร่ง ดูสบายตา ไอเดียบ้านชั้นเดียว
ในปัจจุบันบ้านสไตล์โคโลเนียลอาจไม่ได้มีรูปทรงเป็นแบบสมมาตรแต่ปรับรูปทรงให้ทันสมัยและตอบโจทย์กับการใช้งานมากขึ้น และทำการดึงลักษณะอื่น ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านสไตล์โคโลเนียลมาใส่ในตัวบ้านแทน เช่น หน้าต่าง ประตู หลังคา สีสัน การตกแต่งภายใน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ยังคงความเป็นกลิ่นอายของบ้านสไตล์โคโลเนียลอยู่เหมือนเดิม
บ้านสวย ๆ 50 แบบ ครบทุกสไตล์ โมเดิร์น ลอฟท์ วินเทจ เลือกสร้างได้ตามงบ
2. ประตูและหน้าต่างของบ้านสไตล์โคโลเนียล
ประตูและหน้าต่างของบ้านสไตล์โคโลเนียลถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นมาก เนื่องจากประตูทางเข้าของบ้านสไตล์โคโลเนียลมักถูกสร้างให้อยู่ตรงกึ่งกลางตัวบ้าน ทำให้สามารถวางเสาต้นถัดไปของตัวบ้านมีความสมดุลกัน บ้านสไตล์รีสอร์ท
นอกจากนี้ ทั้งประตูและหน้าต่างของบ้านสไตล์โคโลเนียลมักถูกออกแบบให้มีลักษณะโค้งเป็นรูปเกือกม้าอาจมีการฉลุประตูหรือหน้าต่างเป็นลวดลายต่าง ๆ ใช้เส้นประดับลูกฟัก หรือตกแต่งด้วยบัวปูนปั้นเพื่อคงความสวยงามคลาสสิกตามแบบฉบับของบ้านสไตล์โคโลเนียล ในส่วนของการจัดวางประตูและหน้าต่างของบ้านสไตล์โคโลเนียลมักมีการจัดวางให้อยู่ในระนาบเดียวกันอีกด้วย
3. บ้านสไตล์โคโลเนียลกับระเบียง
สิ่งที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งของบ้านสไตล์โคโลเนียล คือ การมีระเบียงกว้างใหญ่ และมีเสามีรองรับชายคาเรียงต่อกันไป ซึ่งระเบียงของบ้านสไตล์โคโลเนียลอาจมีแค่ระเบียงด้านล่าง หรืออาจจะมีระเบียงของชั้นบนด้วยก็ได้
4. ผนังภายนอกและการตกแต่ง
บ้านสไตล์โคโลเนียลมักมีผนังส่วนใหญ่เป็นผนังไม้ตีซ้อนเกล็ดสลับไปกับโครงสร้างปูน หรือใช้เป็นโครงสร้างปูนแล้วตกแต่งด้วยไม้แบบต่าง ๆ การตกแต่งตัวบ้านสไตล์โคโลเนียลอาจใช้เป็นไม้ฉลุ บัวปูนปั้นรอบชายคา บัวหัวเสาหรือรอบกรอบหน้าต่าง ปูนปั้นตกแต่งเป็นรูปก้นหอย ใบไม้ หรือลวดลายที่อ่อนช้อยเพื่อลดเหลี่ยมคมของโครงสร้างบ้านสไตล์โคโลเนียลให้ดูอ่อนลง
5. โทนสีของบ้านสไตล์โคโลเนียล
ความนิยมในการทาสีของบ้านสไตล์โคโลเนียลมีค่อนข้างหลากหลาย แต่ที่มีให้เห็นโดยทั่วไปมักเป็นโทนสีอุ่นหรือสี Earth Tone ตัดกับสีขาว หรือบางครั้งก็ใช้เป็นสีโทนอ่อน หรือสีพาสเทล เป็นต้น
โทนสี | ส่งผลต่อความรู้สึกอย่างไร |
สีเขียว | รู้สึกร่มรื่น สบายตา ผ่อนคลาย |
สีน้ำเงิน | สุขุม เยือกเย็น สร้างแรงบันดาลใจ |
สีฟ้า | อิสระ โปร่ง โล่ง สบาย |
สีแดง | เร้าใจ ตื่นเต้น กระตือรือร้น |
สีม่วง | ผ่อนคลาย สร้างแรงบันดาลใจ เกิดสมาธิ |
สีส้ม | อบอุ่น สดใส บรรเทาอาการซึมเศร้า |
สีเหลือง | สนุกสนาน สดใส ร่าเริง เพิ่มอารมณ์ขัน |
เลือกสีบ้านตามหลักฮวงจุ้ย VS อารมณ์
6. การตกแต่งภายในบ้านและเฟอร์นิเจอร์
บ้านสไตล์โคโลเนียลมักนิยมตกแต่งภายในด้วยพื้นหินอ่อน กระเบื้องลายโบราณ หรือการปูกระเบื้องเป็นลายตารางหมากรุก การปูพรมลวดลายวินเทจ
ในส่วนเฟอร์นิเจอร์ของบ้านสไตล์โคโลเนียลมักเลือกที่มีความหรูหราแบบคลากสิก ดูวินเทจแบบตะวันตกผสมผสานกับความเป็นไทย อาจมีลวดลายดอกไม้ หรือลายฉลุ การใช้อ่างน้ำแบบอ่างลอยตัว ตู้เตียง ตู้ลิ้นชักจากไม้เนื้อแข็ง ชุดโซฟาบุผ้ากำมะหยี่ เป็นต้น
3 รูปแบบบ้านสไตล์โคโลเนียลที่โดดเด่น
บ้านสไตล์โคโลเนียลในประเทศไทยถูกแบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
1. บ้านสไตล์โคโลเนียลแบบ “เรือนปั้นหยา”
เป็นบ้านสไตล์โคโลเนียลที่มีหลังคาแบบปั้นหยาที่มีหลังคาทุกด้านชนกันแบบก้นพีระมิด ไม่มีหน้าจั่ว มุงด้วยกระเบื้องว่าว บ้านสไตล์โคโลเนียลรูปแบบนี้อาจมีการตกแต่งภายนอกเรียบ ๆ หรือมีลายฉลุตกแต่งเล็กน้อย
2. บ้านสไตล์โคโลเนียลแบบ “เรือนมะนิลา”
เป็นบ้านสไตล์โคโลเนียลที่มีหลังคาบ้านสไตล์โคโลเนียลรูปทรงจั่วผสมปั้นหยาหรือทรงมะนิลา คือ หลังคาบ้านสไตล์โคโลเนียลที่มีลักษณะเหมือนทรงปั้นหยาแต่ส่วนบนจะมีปลายจั่ว มีความแข็งแรงรับแรงปะทะจากลม แดด ฝนได้ทุกด้าน ระบายความร้อนได้ดี อาจมีการตกแต่งภายนอกตัวบ้านอกเรียบๆ โดยใช้ ลายฉลุเล็ก ๆ น้อย ๆ ลายนูน หรือชายคาแบบขนมปังขิง เป็นต้น
3. บ้านสไตล์โคโลเนียลแบบ “เรือนขนมปังขิง”
เป็นบ้านสไตล์โคโลเนียลที่ถูกตกแต่งลวดลายภายนอกด้วยลายฉลุอย่างบรรจงงดงาม มีครีบ มีชายคาระบายแพรวพราว และมีหลังคาส่วนใหญ่เป็นแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
บ้านสไตล์รีสอร์ท กับ 6 ลักษณะบ้านที่ให้มากกว่าการอยู่อาศัย
บ้านสไตล์โคโลเนียลเหมาะกับไลฟ์สไตล์แบบไหน
1. บ้านสไตล์โคโลเนียลเป็นบ้านที่เหมาะกับคนที่มีไลฟ์สไตล์แบบผสมผสานวัฒนธรรมหรือศิลปะระหว่างตะวันตกและความเป็นไทย
2. บ้านสไตล์โคโลเนียลเหมาะกับคนที่ชอบความหรูหราแบบคลาสสิก การตกแต่งแบบวินเทจ
3.บ้านสไตล์โคโลเนียลเหมาะกับคนที่ชอบศิลปะการตกแต่งที่เน้นลายเส้นอ่อนช้อย ลวดลายอ่อนหวาน ลวดลายฉลุ หรือลวดลายธรรมชาติ ผสมผสานศิลปะแบบกรีกโรมัน เป็นต้น
บ้านสไตล์โคโลเนียลถือว่าเป็นบ้านที่ผสมผสานศิลปะจาก 2 วัฒนธรรมไว้ได้อย่างลงตัว ซึ่งในความงามก็ยังแฝงไปด้วยประโยชน์ที่เหมาะกับการใช้งาน เพราะมีการออกแบบมาให้เหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศไทย บ้านสไตล์โคโลเนียลจึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่กำลังมองหาบ้านดี ๆ สักหลัง
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ