ขั้นตอนออกแบบบ้านเอง
ขั้นตอนออกแบบบ้านเอง หากผู้อ่านต้องการสร้างบ้านหลังใหญ่เน้นความสวยงาม การออกแบบด้วยสถาปนิกนั้นนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างบ้าน สถาปนิกที่เก่ง จะช่วยแก้ปัญหาการจัดสรรพื้นที่ ช่วยให้บ้านของเราสวยงาม มีสไตล์ แถมยังอยู่สบายสอดคล้องกับการใช้ชีวิตของผู้อาศัยในบ้าน แต่หากต้องการสร้างบ้านหลังเล็ก เน้นการอยู่อาศัยอย่างง่าย การออกแบบบ้านด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถทำได้
จุดสำคัญคือการสื่อสารกับช่างก่อสร้างให้ได้ทราบถึงความต้องการของเราเอง และวิธีการสื่อสารที่ง่ายที่สุดในการสร้างบ้าน นั่นคือการวาดแปลนบ้านนั่นเองครับ สำหรับวันนี้ ขอนำหลักการออกแบบบ้านด้วยตนเองอย่างง่าย โดยจะเน้นไปถึงการจัดสรรพื้นที่ พร้อมกับวาดผังแปลนภายในบ้านด้วยตนเอง เพื่อนำแปลนดังกล่าวไปให้ผู้รับเหมาก่อสร้าง หรืออาจส่งต่อให้สถาปนิกเขียนแบบแปลนมาตรฐาน เพื่อจะได้นำไปต่อยอดเป็นแปลนบ้านใช้งานจริงกัน โปรแกรมออกแบบบ้าน
6 ขั้นตอนง่ายๆ ที่จะเป็นแนวทางสู่บ้านในฝัน
สำรวจที่ดิน : ก่อนจะถึงขั้นตอนการออกแบบบ้าน สิ่งแรกที่สำคัญเป็นอย่างมากคือการศึกษาแปลงที่ดินของเราเองให้ละเอียด ที่ดินมีหน้ากว้างกี่เมตร ลึกกี่เมตร ทิศไหนอยู่ด้านไหนบ้าง การสำรวจทิศทางนี้เพื่อที่จะให้เราได้วางผังบ้านได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ ลมและแสงแดด ขนาดของที่ดินยังบอกถึงขนาดและรูปทรงของบ้าน เช่น มีที่ดิน 40 ตร.ม. แต่ต้องการพื้นที่ใช้สอย 200 ตร.ม แน่นอนว่าจะต้องออกแบบเป็นบ้าน 2 ชั้นเท่านั้น และการออกแบบจะต้องเผื่อขอบเขตระยะร่นตามกฎหมายกำหนดไว้
1. กำหนดสไตล์ : การเลือกสไตล์ของบ้าน เป็นการกำหนดขอบเขต เป้าหมาย เพื่อให้จินตนาการของความต้องการมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผู้อ่านอาจขับรถท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ พักรีสอร์ท เยี่ยมบ้านเพื่อน หรือหากให้สะดวกหน่อยก็เพียงคลิกเข้าชมเว็บไซต์บ้านไอเดีย ตัวอย่างบ้านเหล่านี้เราสามารถนำมาประยุกต์
กำหนดแนวทางการออกแบบบ้านในฝันของเราได้ แต่ต้องขอย้ำให้ทราบกันก่อนว่า เราสามารถนำดีไซน์มาประยุกต์ใช้ได้ แต่ไม่สามารถไปลอกแบบได้นะครับ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของบ้านหรือเจ้าของแบบโดยตรง โดยปกติแล้วสไตล์ของบ้านมีค่อนข้างหลากหลาย ทั้งไทยประยุกต์ , Vintage , Loft , Minimal , Tropical , หรืออาจเลือกเอกลักษณ์ของบ้านจากต่างประเทศ เช่น บ้านสไตล์ทัสคานี เป็นต้น ทั้งหมดนี้ไม่จำเป็นต้องมีส่วนประกอบที่เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องเป๊ะ
เราอาจผสมผสานรวมแต่ละสไตล์ เลือกจุดที่ชอบนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้กลายเป็นสไตล์ของเราเองได้เช่นกันครับ พบเจอที่ไหน ถ่ายภาพเก็บไว้ หรือหากชอบตัวอย่างแบบบ้านในเว็บบ้านไอเดีย ก็อาจจะเซฟลิงค์เก็บไว้ เผื่อตอนใช้งานจริงจะได้ค้นหาข้อมูลเจอ การเลือกสไตล์บ้านที่ดี นอกจากความชื่นชอบส่วนตัวแล้ว สถานที่ก่อสร้างเป็นสิ่งที่สำคัญ ควรออกแบบบ้านให้เหมาะสม สอดคล้องหรือดูเข้ากับสถานที่ ชุมชนที่อยู่อาศัยด้วยครับ
2. เขียนความต้องการลงไป : ก่อนการออกแบบสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก คือการวิเคราะห์ความต้องการ ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องพูดคุยกันทั้งครอบครัว มีสมาชิกกี่คน อยากได้อะไรบ้าง อยากได้แบบไหน มีเฉลียง ชานระเบียง มีกี่ห้องนอน กี่ห้องน้ำ เป็นคนชอบทำครัวหรือไม่ ห้องนั่งเล่น ห้องดูทีวี ห้องทำงาน โจทย์เหล่านี้แต่ละบ้านย่อมมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะความต้องการหลักพื้นฐาน เช่น จำนวนห้องนอน ห้องน้ำ เป็นต้น
3. กำหนดขนาด : เมื่อทราบความต้องการแล้ว กำหนดขนาดพื้นที่ใช้สอยของแต่ละห้องลงไป อยากให้กว้าง ยาว กี่เมตร การกำหนดขนาดแต่ละห้องจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์หาพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งหมดได้ ผลวิเคราะห์นี้จะทำให้การออกแบบบ้านชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งยังช่วยให้เราทราบอีกว่า เราควรสร้างบ้านกี่ชั้นถึงจะเหมาะสม หากมีที่ดินอยู่แล้วจำเป็นต้องออกแบบให้สอดคล้องกับที่ดิน แต่หากยังไม่มีที่ดิน การกำหนดขนาดพื้นที่ใช้สอย จะทำให้เราหาซื้อที่ดินได้ตามขนาดที่ต้องการ การกำหนดขนาดนี้ยังสามารถนำไปอิงกับการประมาณราคาก่อสร้างได้อีกด้วยครับ
4. กำหนดตำแหน่ง ทิศทาง : การออกแบบผังบ้านที่ดีควรออกแบบให้สอดคล้องกับธรรมชาติ เพื่อให้การอยู่อาศัยภายในบ้านเป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุด โดยรวมแล้วจะคำนึงถึงทิศทางของแสงแดด และทิศทางลม โดยแสงแดดจะส่องมากในทิศตะวันตก ทิศใต้ ห้องที่ต้องการแสงมาก เป็นห้องที่ต้องการกำจัดความชื้น เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องซักล้าง ส่วนห้องที่ต้องการแสงเพียงพอเหมาะ เช่น ห้องนอน , ห้องนั่งเล่น , ห้องทำงาน , ห้องดูหนัง เพราะหากแสงมากเกินไปอาจหมายถึงความร้อนที่มากขึ้นเช่นกันครับ
สำหรับทิศทางลม ลมมีสองทิศทางหลัก ทิศเหนือและทิศใต้ขึ้นอยู่กับฤดูกาล (ทิศใต้มีลมเข้า 8-9 เดือน ทิศเหนือ 2-3 เดือน) ซึ่งหากอ้างอิงร่วมกับทิศทางแดด แดดทางทิศใต้จะค่อนข้างแรงเกือบทั้งวัน ส่วนทิศเหนือแดดจะร่มเกือบทั้งวัน คนไทยจึงนิยมสร้างบ้านให้หันหน้าไปทางทิศเหนือ แต่ก็มีจำนวนมากเช่นกันที่เลือกหันหน้าไปทางทิศใต้ เพื่อต้องการรับกระแสลมเกือบตลอดทั้งปี ทั้งนี้ก็ไม่ได้เป็นข้อจำกัดแต่อย่างใด เพราะการใช้งานของแต่ละบ้านนั้นแตกต่างกัน บางท่านอาจออกแบบเพื่อเน้นการใช้ข้างบ้าน , หลังบ้าน ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานจริงด้วยครับ
5. ลองวาดดูซิ : เครื่องมือพื้นฐานที่สุดที่ใช้ในการวาดแปลน คือ ดินสอ + กระดาษ A4 หรือผู้อ่านถนัดใช้เครื่องมือใดก็สามารถเลือกได้ตามต้องการ ทั้งวาดด้วยมือหรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยก็สามารถทำได้เช่นกันครับ หลักการวาดแปลน วาดเป็นมุมภาพ 2D โดยให้นึกถึงการมองภาพจากบนหลังคาบ้าน
ซึ่งอาจต้องทำความเข้าใจกับสัญลักษณ์พื้นฐานกันสักนิด เช่น ประตู หน้าต่าง ส่วนห้องอื่นๆสามารถวาดเป็นสี่เหลี่ยมในแบบห้องทั่วไป ทั้งนี้หากผู้อ่านไม่เข้าใจสัญลักษณ์ ก็ไม่เป็นปัญหาใด เพียงแค่วาดและเขียนคำอธิบายประกอบร่วมด้วย ให้พอสื่อสารได้ตรงกัน เพียงเท่านี้ก็สามารถนำไปคุยกับช่างรับเหมาได้แล้วครับการออกแบบบ้านด้วยตนเอง
ในมุมมองของผู้เขียนจัดเป็นเรื่องราวพื้นฐานที่เราควรต้องศึกษา อันที่จริงควรมีในหลักสูตรการศึกษาไทยด้วยซ้ำ ด้วยเหตุผลที่ว่า บ้านคือที่อยู่อาศัยเป็นพื้นฐานจำเป็นในการดำรงชีวิต เราควรได้เรียนรู้วิชาพื้นฐานเหล่านี้ เพื่อที่จะได้รองรับกับการใช้ชีวิตจริง สำหรับเนื้อหาชุดนี้เป็นเพียงแนวทางเบื้องต้น ที่หลายๆท่านได้นำไปใช้งานจริง และสามารถสร้างบ้านในฝันได้สำเร็จ หากคุณผู้อ่านสนใจอ่านเรื่องใดเพิ่มเติม เสนอกันมาได้นะครับ ขอบคุณมาก
การออกแบบบ้านที่คุณต้องรู้
“บ้าน” ควรจะสร้างเพื่อความสุขตามอัตภาพของผู้อยู่อาศัย และความเป็นมนุษย์คือการได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ได้สัมผัสธรรมชาติ และได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ในการออกแบบบ้านสิ่งที่สำคัญในการนำมาพิจารณา ก็มีอยู่หลายประการ ดังนี้
1. การจัดพื้นที่เป็นสัดส่วน
การจัดพื้นที่ภายในบ้านให้เป็นสัดส่วนสามารถลดปัญหาขัดแย้งภายในบ้านได้เช่น การฟังเพลง การดูโทรทัศน์ การทำการบ้าน การนอน การทานอาหาร การทำครัว การสังสรรค์ หรือประหยัดพลังงานเมื่อใช้เครื่องปรับอากาศ หรือป้องกันเสียง และกลิ่นรบกวน หรือป้องกันยุง
2. แสงธรรมชาติ
การจัดให้ทุกพื้นที่ได้รับแสงธรรมชาติ ช่วยสร้างให้เกิดบรรยากาศที่น่า แสงธรรมชาติควรจะมาจาก ส่วนบนของห้อง จะทำให้การกระจายแสงดี และแสงไม่จ้า ดังนั้น สีของเพดานจึงควรจะเป็นสีออกสว่าง ส่วนสีผนัง หากใช้สีสว่างเกินไปจะจ้า จึงควรคล้ำลงบ้างบ้านสวยๆหรูๆ
3. การระบายอากาศ
ห้องที่ควรจะใช้หลักการระบายอากาศตามธรรมชาติ ได้แก่ ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องทานอาหาร ห้องพักผ่อน เป็นต้น
4. การปรับอากาศ
ห้องนอนซึ่งเป็นห้องที่คนใช้เวลาอยู่มากที่สุด ใช้เครื่องปรับอากาศกันเป็นส่วนใหญ่ ห้องนอนจึงต้องออกแบบให้มีสภาพของห้องเย็น คือมีฉนวนป้องกันความร้อนอย่างดี จึงจะใช้เครื่องปรับอากาศเล็กนิดเดียว แล้วจะได้ไม่เปลืองไฟ ตำแหน่งของเครื่องระบายความร้อน ต้องไม่รบกวน และไม่นำความร้อนกลับเข้ามา ส่วนของเครื่องเป่าลมเย็น จะต้องไม่เป่าโดนตัวให้การกระจายลมดี และทำความสะอาดได้ง่าย
5. การป้องกันเสียง
เสียงรบกวนมักจะมาจาก เสียงรบกวนจากข้างบ้าน จากถนน กิจกรรมในบ้าน เครื่องระบายความร้อน ห้องน้ำ ดังนั้น จึงควรป้องกันเสียงจากที่ต่างๆนี้ เช่น การใช้หน้าต่าง ที่ไม่เปิดรับเสียงรบกวนจากภายนอกโดยตรง, การจัดแบ่งพื้นที่การใช้งานให้เป็นสัดส่วน, การกั้นผนังห้องน้ำยันพื้นเพดาน และใช้ประตูทึบ, การกั้นผนังห้อง การตั้งเครื่องระบายความร้อน ไม่ให้เสียงรบกวนบ้านของตัวเอง และบ้านของคนอื่น
หลักการออกแบบบ้าน เป็นสิ่งสำคัญมากก่อนการสร้างบ้านแต่ละหลังขึ้นมาไม่ใช่ว่าจะมีแค่ที่ดิน แล้วจ้างผู้รับเหมามาก่อสร้างบ้านเพียงแค่นั้น แต่จำเป็นต้องมีการออกแบบบ้านที่ดีและรอบคอบก่อนที่จะเริ่มลงมือก่อสร้าง เพื่อให้ได้บ้านที่ตรงตามความต้องการและเหมาะสมกับเจ้าของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของงบประมาณ
การคำนวณวัสดุที่จะต้องนำมา ใช้ในการก่อสร้าง ระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้าง แต่ละขั้นตอน ตลอดจนกระทั่งเพื่อให้ได้รูปแบบของบ้านที่ชอบ และตรงตามรสนิยม เจ้าของบ้านแต่ละคน ส่วนการออกแบบบ้าน นั้นหากเจ้าของบ้าน ไม่ต้องการโครงสร้างบ้านที่สลับซับซ้อนมากนักก็ สามารถออกแบบบ้านได้เอง แต่ถ้าเป็นบ้านที่มี ความซับซ้อนหรืองานระบบเยอะ ๆ ก็ควรว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญหรือสถาปนิกใน การออกแบบให้มาดูแล เพียงแค่เจ้า ของบ้านบอกความต้องการ ว่าอยากได้บ้านลักษณะไหน สถาปนิกก็ จะดำเนินการให้ และ สำหรับหลักการที่นำมาใช้ใน การออกแบบบ้านนั้นจะต้อง คำนึงถึงหลักการบ้านโมเดิร์น