แบบบ้านชั้นลอย

แบบบ้านชั้นลอย ชั้นลอย คือ ชั้นในอาคารที่อยู่ระหว่างชั้นแรก (หรือชั้นล่าง) กับชั้นที่สอง โดยมีลักษณะเปิดให้เข้าถึงได้จากชั้นล่างซึ่งถูกออกแบบมา ให้สูงเป็นสองเท่าของชั้นปกติ แต่ไม่นับว่าเป็นชั้นที่แยกออกมาต่างหาก ซึ่งถูกออกแบบมา เพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับการจัดเก็บเสริม หรือ ใช้เป็นพื้นที่ใช้งานอื่น ๆ เป็นต้น

แบบบ้านชั้นลอย

ชั้นลอย เป็นชั้นที่ถูกต่อเติมภายในที่พักอาศัย ที่มีพื้นที่บริเวณชั้น แบบเจาะเพดานสูง หรือ เรียกอีกชื่อว่า Double Space โดยจะมีความสูงมากกว่า 5 เมตรขึ้นไป ซึ่งการต่อเติมชั้นลอย นั้นจะควรคำนึงถึง 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้
1.ความสูงของชั้น > เมื่อต่อเติมแล้ว ความสูงจากบริเวณชั้น 1 ต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 2.70 เมตร เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน

2.การรองรับน้ำหนัก >โครงสร้างฐานบริเวณชั้นลอย จะต้องสามารถรอง รับน้ำหนักมากกว่า 200 กิโลกรัมขึ้นไป หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 240 กิโลกรัม

ทริคเลือกวัสดุสร้างชั้นลอยให้สวยงามและแข็งแรงทนทาน

เมื่อวางแผนออกแบบบ้านในฝันให้มีชั้นลอย เรื่องแรกที่ต้องคำนึงก็คือเรื่องการรับน้ำหนัก ความแข็งแรงและทนต่อการใช้งาน โดยคุณสมบัติมาตรฐานของชั้นลอยจะต้องรับน้ำหนักได้ไม่ต่ำกว่า 200 กิโลกรัม

ซึ่งเป็นน้ำหนักที่รวมทุกอย่างไว้ เช่น ผู้ใช้งาน เฟอร์นิเจอร์ วัสดุปูพื้น เพดาน และหากเป็นพื้นที่อเนกประสงค์รองรับแขกจำนวนมากก็ยิ่งต้องเพิ่มความสำคัญมากกว่าเดิม ซึ่งค่ารองรับน้ำหนักจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญ วิศวกร หรือบริษัทรับสร้างบ้านที่มีผู้เชี่ยวชาญการสร้างบ้านและออกแบบควบคุมดูแลอย่างปลอดภัย

แบบบ้านชั้นลอย

ดังนั้น เพื่อรองรับการใช้งานที่จะเกิดขึ้น โครงสร้างจึงควรเลือกวัสดุที่เบา โดยโครงสร้างที่เหมาะสมคือ โครงสร้างคานและตงเหล็ก ปูทับด้วยวัสดุประเภทไม้อัดหรือไม้เทียม ทั้งนี้การเลือกวัสดุต่างๆ ยังขึ้นอยู่กับประเภทของชั้นลอยอีกด้วย โดยการสร้างชั้นลอยมี 3 ประเภท ดังนี้

1.ชั้นลอยโครงเหล็ก
เป็นโครงสร้างที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะได้ชื่อว่าเป็นวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้มาก เหมาะสำหรับบ้านที่ต้องการพื้นที่ชั้นลอยเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ขนาดใหญ่ รองรับการใช้งานของเจ้าบ้านและแขกผู้มาเยือน การออกแบบชั้นลอยส่วนใหญ่จะแยกโครงสร้างของชั้นลอยกับตัวบ้าน เพื่อป้องกันการดึงรั้งน้ำหนักจากโครงสร้างหลัก มีเสาเฉพาะเป็นของตัวเอง

ซึ่งโครงสร้างเหล็กมีน้ำหนักมากกว่าโครงสร้างประเภทอื่นจึงควรกำหนดสเปกชนิดของเหล็กและการใช้งานให้ชัดเจน เพื่อให้ทางบริษัทรับสร้างบ้านคำนวณค่ารองรับน้ำหนักที่จะเกิดขึ้น รวมถึงต้องศึกษาการดูแล ทั้งความชื้น สนิม ป้องกันการผุพัง โดยชั้นลอยประเภทนี้เหมาะกับบ้านสไตล์ลอฟท์ ที่ชอบโชว์ความดิบของวัสดุต่างๆ

2.ชั้นลอยโครงไม้
ชั้นลอยโครงไม้มักพบเห็นได้บ่อยๆ จากแบบบ้านสไตล์มินิมอล ลักษณะเล็กๆ ให้บรรยากาศอบอุ่น เป็นการเพิ่มชั้นลอยเพื่อการใช้งานที่ไม่หนัก เช่น ชั้นวางหนังสือ หรือ ห้องทำงาน

แม้งานโครงไม้จะขึ้นชื่อเรื่องความแข็งแรง ทน สวยงาม แต่หากมองการใช้งานเป็นหลัก โครงไม้อาจจะยังไม่เหมาะกับแบบบ้านขนาดใหญ่ที่เน้นการใช้งานหนักๆ ทริคการสร้างชั้นลอยไม้จึงอยู่ที่การเลือกใช้วัสดุ

วัสดุไม้เทียมทดแทนจึงเป็นการเฉลี่ยน้ำหนักจากโครงสร้าง ยิ่งหากเป็นการต่อเติมภายหลัง จะเป็นการเพิ่มน้ำหนักไปที่ผนังโครงสร้างหลักอาจส่งผลต่อความปลอดภัย ดังนั้นการออกแบบโดยสถาปนิกและผ่านการขออนุญาตก่อสร้างตั้งแต่เริ่มสร้างบ้านย่อมดีกว่าการต่อเติมภายหลัง

3.ชั้นลอยโครงสร้างปูน
โดยมากจะเป็นในลักษณะของอาคารใหญ่ ต้องแข็งแรงมาก สถาปนิกจะลงรายละเอียดวัสดุตั้งแต่ขออนุญาตเนื่องจากเป็นเรื่องโครงสร้างที่ต้องเชื่อมต่อกันกับโครงหลัก และเพื่อรองรับการใช้งานที่อาจจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่

ข้อดีของชั้นลอยปูนคือไม่พบปัญหารั่วซึม แต่ก็อาจจะมีปัญหาตามมาหากไม่ผ่านการควบคุมการก่อสร้างและเลือกวัสดุ ขนาดเหล็กเสริม หรือความหนาของพื้นปูน การหาค่ารองรับน้ำหนัก ที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น คานย้อยแอ่น

นอกจากการเลือกโครงสร้างแล้ว ยังมีอีกหนึ่งทริคที่ทำให้ชั้นลอยสามารถโชว์ความสวยงาม พร้อมให้ความรู้สึกปลอดภัยได้อย่างดีก็คือ ส่วนของผนัง หากเลือกก่อผนังทึบควรเลือกผนังที่ให้ความเบาแต่ยังให้ความแข็งแรง หรือ เลือกเป็นกระจกใสเพื่อปล่อยโล่งโชว์พื้นที่ ปล่อยให้อากาศถ่ายเทสะดวก ก็เสริมให้บ้านดูโปร่งและมีเอกลักษณ์ได้

ทั้งนี้การเลือกใช้วัสดุใดๆ ก็ตาม จะปรับเปลี่ยนตามสไตล์ของบ้านและการใช้งานพื้นที่ความสูงที่ต้องเป็นไปตามกฎหมายควบคุมอาคารกำหนด และถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยโดยตรงจึงควรมีผู้เชี่ยวชาญหรือบริษัทรับสร้างบ้านที่มีมาตรฐาน เพราะพื้นที่ชั้นลอยก็ถือเป็นอีกส่วนของบ้านที่หากมีการรื้อหรือทุบก็จะมีผลกับโครงสร้างบ้านโดยรวมได้

ทำไมจึงควรทำชั้นลอยในบ้าน

แบบบ้านชั้นลอย

ชั้นลอย เป็นชั้นบนของอาคาร หรือบ้านที่อยู่ระหว่างชั้นล่างกับชั้นที่สอง โดยที่เราจะสามารถเข้าถึงได้ จากชั้นล่างแบบเปิดโล่งหรืออาจจะเป็นระเบียงที่ยื่น ออกมาซึ่งมีความสูงเป็นสอง เท่าของชั้นปกติ หากพูดให้ถูกก็คือ ชั้นลอยเป็นส่วนหนึ่งของชั้นที่สองนั่นเอง เราจะเห็นได้ว่าบ้านสมัยใหม่ แบบโมเดิร์นมักจะมีการทำชั้นลอยไว้ทั้งนั้น แต่คนที่อยู่บ้านทั่วไปกลับ มองว่ามันอันตรายและดูจะสิ้นเปลืองเปล่า ๆ แต่ความจริงแล้วหากคุณศึกษาดี ๆ จะรู้ว่าชั้นลอยเป็นชั้นที่ควรทำไว้ใน บ้านสองชั้นทุกหลังนะ เพราะอะไรเราไปดูกันดีกว่า บ้านเดี่ยว

การสร้างชั้นลอยทำให้มองเห็นสภาพแวดล้อมชั้นล่างชัดเจน
ในเวลาที่เราต้องการ จะจัดบ้านหรือปรับเปลี่ยน ตำแหน่งสิ่งของในบ้านให้ดีกว่าเดิมย่อมต้อง มีการคำนวณพื้นที่และมุมที่เหมาะสม ซึ่งการมองจากมุมสูงย่อมเห็นภาพตำแหน่งความมีระเบียบของสิ่ งจองเฟอร์นิเจอร์นั้น ๆ ได้ดีกว่าการมองข้างหน้าตรง ๆ เพราะการมองจากมุมสูงจะทำให้เราเห็นพื้นที่ และตำแหน่งได้อย่างกว้างขวาง สามารถคำนวณการ

ใช้พื้นที่จัดออกมาได้ดี ชั้นลอยที่เป็นชั้นเปิดโล่ง จึงสามารถช่วยให้เรามองเห็นสภาพแวดล้อมชั้นล่างชัดเจนและยังช่วยให้เราสามารถมองเห็นสถานการณ์ผิดปกติได้อย่างทันท่วงที เช่น มีคนแปลกหน้าแอบเข้ามาในบ้านที่ชั้นล่าง คุณที่อยู่ชั้นลอยจะสามารถเห็นได้และโทรแจ้งตำรวจทัน เป็นต้น

การสร้างชั้นลอยทำให้ชั้นบนไม่มีกลิ่นอับ
ในบ้านทั่วไปเมื่อเราขึ้นไปยังชั้นบน ก็มักจะมีทางเดินที่แคบ และมองไม่เห็นชั้นล่างเพราะ ถูกสร้างด้วยผนังบ้านกั้น ซึ่งสังเกตว่ามักจะมีกลิ่นอับตามสภาพอากาศ ที่แปรเปลี่ยนนานวันเข้าอยู่เสมอ กลิ่นอับก็มาจากสาเหตุนี้ล่ะค่ะ แต่หากคุรเปลี่ยนมาสร้างชั้นลอยให้เป็นแบบระเบียงโล่ง ๆ ตามทางเดินไปยังห้องต่าง ๆ ก็จะไม่ต้องเวียนหัวกับกลิ่นอับอีกต่อไป เพราะชั้นลอยจะช่วยถ่ายเทอากาศได้เป็นอย่างดี

การสร้างชั้นลอยทำให้บรรยากาศปลอดโปร่ง
การสร้างชั้นลอย จะทำให้บรรยากาศชั้นบน ของบ้านมีความปลอดโปร่ง เพราะไม่มีผนังมาคั่นลม หรือการถ่ายเทอากาศที่อัดแน่นกันอยู่จนทำให้เราอึดอัด และอาจมีปัญหาสุขภาพได้ แม้แต่เวลาที่คุณเกิด เจ็บป่วยอย่างฉุกเฉินที่ชั้นบนก็ย่อมยากที่จะมีใครได้ยินเพราะผนังเช่นกัน ฉะนั้นแล้วการสร้างชั้นลอยจึงมีประโยชน์ มากมายที่คุณไม่ควรจะมองข้าม เพราะมันย่อมทำให้บ้านของคุณน่าอยู่มากขึ้นอย่างแน่นอน

แบบบ้านหลังเล็กชั้นลอย ชีวิตที่เรียบง่าย

แบบบ้านหลังเล็กชั้นลอย ชีวิตที่เรียบง่าย

ห่างหายกันไปนานพอสมควร สำหรับ าแบบบ้านชั้นครึ่ง เมื่อหายไปนาน เสียงเรียกร้องจากแฟนเพจ ก็เริ่มจะมีมากขึ้น “บ้านไอเดีย” จึงขอจัดให้ตามคำขอกันอีกหลัง โดยบ้านชั้นครึ่งในวันนี้ มาในวิถีที่เรียบง่ายอย่างมาก ด้วยขนาดบ้านที่เล็กกระทัดรัด

ผนังด้านนอกตกแต่งด้วยแผ่นไม้ หลังคาบ้านเอียงมีระเบียงเล็กๆ ด้านหน้า ประตูบ้าน 3 บาน ด้านหน้าบานคู่ และด้านข้างเพิ่มความเก๋ด้วยการตัดมุมจากมุมบ้าน ทำให้บ้านเป็นลักษณะ 5 เหลี่ยม ภายในพื้นที่ 32 ตารางเมตร งบก่อสร้างประมาณ 3-4 แสนบาท

ภายในบ้าน เป็นไปอย่างเรียบง่าย

ภายในบ้าน เป็นไปอย่างเรียบง่าย สมถะ พื้นบ้านชั้นล่างผิวปูนขัดมัน เนื่องจากบ้านเป็นบ้านชั้นลอย จึงต้องมีบันไดเชื่อมต่อขึ้นชั้นบน บันไดออกแบบให้ สามารถดึงเก็บได้ เพื่อไม่ให้รกกับพื้นที่ชั้นล่าง ขึ้นสู่ห้องนอนชั้นลอยเล็กๆ มีเพียงเตียงนอน ราวกันตกเหล็กสีดำ มีการเล่นลวดลาย เส้นโค้งให้ดูอ่อนโยนเหมาะกับพื้นที่ห้องนอน

ชั้นล่างไว้เป็นพื้นที่สำหรับห้องน้ำ และห้องเก็บของ เก็บเสื้อผ้า จะว่าไปแล้ว หากไม่มีภาระ ครอบครัว ใช้ชีวิตอย่างสันโดษ ส่วนตัวแล้วคิดว่า บ้านขนาดเพียงเท่านี้ ก็พอเหมาะกับการอยู่อาศัย อีกทั้งยัง ดูแลง่ายอีกด้วยนะ