แบบบ้านสไตล์มินิมอล 2 ชั้น

แบบบ้านสไตล์มินิมอล 2 ชั้น มินิมอล (Minimal Style) คืออะไร มินิมอลกลาย เป็นสไตล์การแต่งบ้าน ยอดนิยมในยุคปัจจุบันที่เน้นให้ความสำคัญกับความ เรียบง่ายเป็นหลัก ด้วยการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ ที่ไม่มีสีสรรฉูดฉาดมาก มีจำนวนเฟอร์นิเจอร์กับของตกแต่งไม่จำเป็นต้องเยอะ เอาแค่ที่พอดี อะไรไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใส่เข้าไปในห้อง นอกจากนี้ยังเน้นความสว่างจากแสงไฟธรรมชาติเป็นหลัก หรือใช้หลอดไฟที่มีสีสรรไม่ฉูดฉาด เน้นความเรียบง่ายในทุกองค์ประกอบ เก็บกวาดดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย

แบบบ้านสไตล์มินิมอล 2 ชั้น

บ้านสไตล์มินิมอล เหมาะกับใคร หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ ชอบความปลอดโปร่ง โล่งสบาย มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีความสุขใจที่ได้เห็นอะไรที่สะอาดสะอ้าน สบายตา ไม่ชอบอะไรรกรุงรัง และต้องคอยจัดการ ให้เรียบร้อยเสมอ เชื่อว่าคุณต้องชอบแบบบ้านสไตล์มินิมอลอย่างแน่นอน ด้วยความ น้อยแต่มาก

ของการเป็นมินิมอลจะช่วย ตอบโจทย์การมีบ้าน ในแบบที่คุณใฝ่ฝันได้เป็นอย่างดี เพราะการแต่งบ้านสไตล์มินิมอลที่ใช้เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น นอกจากดูสะอาดตาแล้ว ยังช่วยลดความเครียดใน การจัดระเบียบข้าวของ ในบ้านได้ง่ายขึ้น ทำความสะอาดบ้านได้ง่ายกว่า แถมบ้านของคุณก็ยังดูโดดเด่น น่าดึงดูด อยู่อาศัยเองก็สุขใจ ใครผ่านไปมาก็สะดุดตาอีกด้วย

แบบบ้านญี่ปุ่นโมเดิร์น สไตล์มินิมอล

แบบบ้านสไตล์มินิมอล 2 ชั้น

วัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นน่าตื่นเต้น และรุ่มรวยด้วยเอกลักษณ์ โดยเฉพาะบ้านทั้งยุตเก่า ที่สวยงามประณีตในงานฝีมือ หรือบ้านใหม่ที่เผยให้เห็นความกล้าทดลองของพวกเขา แม้ในสิ่งที่ธรรมดาที่สุด อย่างการการออกแบบบ้านที่เรียบง่าย ก็ไม่ไดง่ายแบบไม่มีรายละเอียดอะไรเลย

เพราะในความน้อยก็ยังขึ้น ชื่อว่ามาพร้อมกับฟังก์ชัน การทำงานที่ตรงไปตรงมา เหมือนเช่น บ้านในอากิชิมะโดย Office M-Saแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึง ความเรียบง่ายภายนอกทั้งสีและวัสดุ แต่ภายในกลับซ่อนแนวคิดให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบและการใช้งานในอนาคตได้อย่างคาดไม่ถึง

Office m-sa ออกแบบ “Wakuwakusuru” Tsukuri no House บ้านพื้นที่ 110 ตารางเมตร ที่ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น การออกแบบเริ่มต้นด้วยการสนทนากับเจ้าของบ้าน บ้านจัดสรร ที่มีความต้องการค่อนข้างแปลก คือ“ต้องการอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ยืดหยุ่นแตกต่างกัน

ตอบสนองต่อเวลาไม่เฉพาะวันนี้ และต้องใช้งานได้ทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ” สถาปนิกจึงตีโจทย์บ้านซึ่งแสดงสถาปัตยกรรมที่ปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง ของสิ่งแวดล้อมและชีวิต เป็นบ้านสองชั้นผสมผสานระหว่างคอนกรีต ไม้ กระจก มีบันไดเดินเข้าสู่ดาดฟ้าได้โดยตรง

แบบบ้านสไตล์มินิมอล 2 ชั้น

ทีมงานชั่งน้ำหนักระหว่างความแตกต่าง และความแข็งแกร่งของคอนกรีต และความอบอุ่นเป็นมิตร ของไม้อย่างพิถีพิถัน รวมถึงในแง่ของพื้นผิวและความทนทาน ตามแผนภาพรวมใหญ่ของบ้านหลังนี้ ต้องการการทำให้บ้านน่าอยู่ในปัจจุบันและพร้อมสำหรับอนาคต

ดังนั้นรากฐานต้องทนทานต่อการสึกหรอได้ดี เช่น โครงสร้างคอนกรีตที่อาจยืนยาว อยู่ในบ้านได้นับสิบนับร้อยปี ก็เลือกใส่ในจุดที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรง อาทิ ฐานราก บันได ซุ้มประตูเป็นโครงหลัก ๆ สามารถใช้เป็นรากฐานสำหรับบ้านใหม่ สนามเด็กเล่น หรือเวทีสำหรับการแสดงในอนาคต ส่วนโครงสร้างที่สามารถขยายหรือรื้อถอนได้ ภายในไม่กี่ปี หากมีความจำเป็นต้องขยับขยายปรับเปลี่ยนก็ใช้งานไม้เป็นหลัก

บันไดคอนกรีดที่ต่อเชื่อมกับซุ้มประตูโค้ง ถึงจะไม่มีสีสัน รูปแบบเรียบๆ แต่กลับกลายเป็นจุดสนใจ ที่ชวนให้โฟกัสสายตาในกลางบ้าน หลังจากส่วนคอนกรีตเรียบร้อย สถาปนิกก็เติมให้ส่วนหลังคาและผนังล้อม อยู่ระหว่างฐานรากเพื่อให้เกิดช่องว่างภายใน ไม่มีเสาบ้าน ให้พื้นที่บ้านเชื่อมต่อกันอย่างหลวมๆ ไม่มีขอบเขตที่แน่นอนเหมือน บ้านที่มีเสาแล้วก่อ ห้องปิดทึบแยกเป็นห้องเล็กห้องน้อย

ซึ่งวิธีนี้จะทำให้บ้านยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ตารางกิจกรรมรายวันที่อาจไม่เหมือนกัน บ้านในอากิชิมะนั้นจึงเรียบง่ายแต่มีประโยชน์ใช้สอย การจัดวางและห้องต่างๆ ให้ความอบอุ่นเรียบง่ายซึ่งครอบครัวสามารถกลับบ้านมา ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย

 การจัดวางและห้องต่างๆ ให้ความอบอุ่นเรียบง่าย

ผนังในส่วนที่เป็นงานไม้อัด ไม่ได้หมายความว่าไม่แข็งแรง เพราะหากเลือกไม้อัดไส้ไม้ ที่มีความหนาตามสเปคการใช้งาน จะสามารถรองรับน้ำหนักได้ไม่แพ้ไม้แท้ และยังสามารถดัดโค้ง ตัด ใช้งานได้หลายรูปแบบ หากวันไหนสมาชิกในบ้านเพิ่มขึ้น ผนังที่ไม่จำเป็นก็สามารถรื้อถอน ได้ง่ายโดยไม่กระทบ ต่อโครงสร้างหลักของบ้าน

บันไดที่ตั้งอยู่นอกบ้าน ตามหลักฮวงจุ้ยจะเรียกว่า “บันไดโจร” ซึ่งอาจจะเป็นเพราะบันไดนอกบ้าน เป็นช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงตัวบ้านบริเวณชั้นบนได้ง่าย การทำบันไดด้านนอกมีข้อดีตรง ที่สามารถขึ้นลงได้โดย ไม่ต้องเดินผ่านลัดเข้าไปในตัวบ้าน จึงยังคงความรู้สึกเป็นส่วนตัว แต่ก็ต้องแน่ใจว่า บ้านมีระบบความปลอดภัย ของประตูหน้าต่างอย่างดี

แบบบ้านโมเดิร์นมินิมอลในญี่ปุ่น มีคนเคยกล่าวว่าอย่าโดน “ไซส์” หลอกตา

แบบบ้านโมเดิร์นมินิมอลในญี่ปุ่น

มีคนเคยกล่าวว่าอย่าโดน “ไซส์” หลอกตา เพราะบ้านญี่ปุ่นที่ภายนอกอาจ ดูเหมือนเล็กไปหมด แต่ภายในกลับรู้สึกถึงความโปร่งโล่ง ตัวอย่างบ้านหลังนี้ในญี่ปุ่นคงพิสูจน์ คำพูดนี้ได้อย่างดี ด้วยขนาดที่ดินไม่กว้าง และลึกมากนัก เมื่อต้องการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้เพียงพอต่อการใช้งานกับสมาชิกใน ครอบครัวจึงต้องเติมขึ้นไปในแนวตั้ง เหมือนเป็นกล่องขนาดต่าง ๆ วางเหลื่อมกัน 3 กล่องห่อหุ้มด้วยแผ่นโลหะลูกฟูกสีอ่อนสว่าง มองจากข้างนอกดูปิดเป็นส่วนตัวเหมือนไม่ค่อยกว้าง แต่ถ้าเข้าไปดูภายในจะรู้ได้ว่าบรรยากาศกลับโปร่งสว่างไม่เล็กแคบอย่างที่คิด

Here, There, Over There หรือแปลเป็นไทยว่า ที่นี่ ที่นั่น ที่โน่น เป็นบ้านสไตล์มินิมอลสูง 3 ชั้น ที่ออกแบบโดยสถาปนิกชาวญี่ปุ่นชื่อ Fumiaso Architecture & Associates ภายนอกของบ้านสร้างด้วยโลหะลูกฟูกเหมือนคลื่น ด้านข้างมีช่องตัดที่ระดับพื้นดินเป็นช่องสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่สำหรับจอดรถ ด้านบนเจาะช่องเปิดสี่เหลี่ยมล้อไปกับช่องข้างล่าง ตัดความเหลี่ยมและความแข็งกระด้างด้วยประตูรูปร่างโค้ง ๆ ทำจากไม้สีอ่อน ๆ ดูสบายตาและผ่อนคลาย

ชั้นล่างเป็นที่ว่างมีพื้นที่ให้ลมไหลผ่านได้สบาย จุดนี้นอกจากจะเอาไว้ จอดรถหลังจากเลิกงานแล้ว ในช่วงที่รถไม่อยู่ก็สามารถมานั่งเล่นชมวิว ทักทายเพื่อนบ้านสบาย ๆ ดูแล้วให้อารมณ์เหมือนบ้านมีใต้ถุนแบบไทยๆ ถัดจากลานจอดรถจะเข้าสู่พื้นที่ส่วนตัวผ่านประตูบานกระจกกรอบไม้ เมื่อเดินเข้าไปจะมีตู้ชั้นให้เก็บของใช้ ก่อนเดินขึ้นบันไดไม้ ที่แอบซ่อนฟังก์ชันจัดเก็บเพิ่มได้อีก

จากบันไดที่มีช่อง skylight เพิ่มความสว่างในทุกย่างก้าว

เมื่อค่อย ๆ เดินขึ้นมาชั้นบนจะรู้สึกได้ว่าปริมาณแสง จะเปลี่ยนแปลงทีละน้อย จากบันไดที่มีช่อง skylight เพิ่มความสว่างในทุกย่างก้าว เพิ่มความปลอดภัยในการเดินขึ้นลง เมื่อมาถึงชั้นสองจะเป็นห้องโถงโล่ง ๆ สำหรับนั่งเล่น ความพิเศษในะความธรรมดาคือ การออกแบบให้ผนังเปิดออกได้กว้างมาก ด้วยการใส่บานประตูกระจกบานเลื่อนเชื่อมต่อกับลานกลางแจ้งภายในที่ต่อเพิ่มออกมา ทำให้บ้านมีแสงธรรมชาติส่องเข้ามาอย่างเต็มที่ รวมถึงการเชื่อมต่อกับภายนอก โดยไม่กระทบต่อความเป็นส่วนตัว

ความเป็นญี่ปุ่นนั้นมีความชัดเจนในตัวตน แม้จะเห็นเพียงองค์ประกอบเดียวก็รู้ได้ทันที อย่างในห้องนั่งเล่นไม่เพียงแต่มีส่วนที่ปูด้วยไม้ ยังมีส่วนที่ปูด้วยเสื่อทาทามิที่เป็นงานหัตถกรรมภูมิปัญญาญี่ปุ่น ช่วยเพิ่มความอบอุ่นและนุ่มนวลยามนั่งลงกับพื้น ซึ่งการนั่งและนอนกับพื้นเป็นหนึ่งวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่ยังคงอยู่มาถึงปี 2021 ในบ้านสไตล์โมเดิร์นก็ยังดูเข้ากันได้อย่างกลมกลืน

มุมนั่งเล่นชงชาที่ผสมผสานความ เป็นญี่ปุ่นเข้ากับการตกแต่งใหม่ ๆ ได้อย่างน่ามอง ด้วยการใส่วัสดุมุงหลังคาโปร่งแสงให้แสงธรรมชาตินวลตา เมื่อมารวมกับผนังที่เปิดออกได้กว้างข้างๆ ทำให้รู้สึกว่าข้างนอกเหมือนข้างใน ข้างในเหมือนข้างนอก แบบ Inside-out Outside-in อีกด้านหนึ่งของอาคารเป็นครัวเล็ก ๆ ที่เชื่อมต่อกับห้องนั่งเล่น ในบริเวณนี้สามารถใช้งานได้หลากหลาย กินได้ นอนได้ อ่านหนังสือได้ พูดคุยกับเพื่อนๆ สัมผัสสายลม เพลินฟังเสียงนกร้องจิ๊บๆ และปล่อยใจให้ผ่อนคลายไปกับสีของท้องฟ้า

ใน บ้านสไตล์โมเดิร์นมินิมอล แบบญี่ปุ่น จะเน้นการใช้ผนังสีขาว เป็นฉากหลัง เพื่อเพิ่มความรู้สึกกว้าง ผ่อนคลายสบายตา ตัดด้วยเส้นสายตาจากงานไม้ที่ให้ความละมุน มากกว่ากรอบวัสดุโลหะ นอกจากนี้แสงธรรมชาติยังเป็นองค์ ประกอบสำคัญที่ทุกบ้านต้องมี เราจะเห็นช่องแสง รูปทรงเรขาคณิตขนาดต่างๆ เล็กบ้างใหญ่บ้างเป็นจังหวะ ทำให้บ้านดูมีมิติ และที่ลืมไม่ได้ คือ การใช้พื้นที่ทุกตารางเมตรอย่างมีประสิทธิภาพ แม้แต่พื้นที่ในมุมบ้านรูป สามเหลี่ยมแหลมๆ ก็สามารถใช้เป็นจุดนั่งเล่นพักผ่อนได้