บ้านนอร์ดิก งบน้อย ( Low budget modern house )
“อยากอยู่บ้านตลอด” เป็นความรู้สึกของเจ้าของบ้าน บ้านนอร์ดิก งบน้อย หลังจากสร้างเสร็จ ซึ่งเป็นไปตามตั้งใจไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบว่าอยากทำบ้านหลังนี้ให้ออกมาดีที่สุด เป็นเหมือนบ้านในฝันมากที่สุด บ้านที่อยู่ได้ทุกๆ วันแบบไม่มีวันเบื่อ
สำหรับสไตล์ของบ้านหลังนี้ เป็นการผสมผสาน จุดเด่นของบ้าน 2 สไตล์ เข้าไว้ด้วยกัน คือ สไตล์นอร์ดิก และสไตล์อินดัสเทรียลลอฟท์ที่นำมาคลุกเคล้า รวมกันได้อย่างลงตัว ทำให้บ้าน มีทั้งความเฉียบคม อบอุ่น และความดิบเท่ อยู่ด้วยกัน เกิดสไตล์ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ
บ้านหลังนี้สร้าง อยู่ในประเทศไทยของเรานี่เอง เจ้าของคือคุณ พื้นที่ใช้สอย รวมทั้งหมดประมาณ 145 ตารางเมตร ส่วนค่าก่อสร้างรวมเฟอร์นิเจอร์ น่าจะประมาณ 2.5 ล้านบาท สำหรับดีไซน์ ด้านหน้า โดดเด่น ด้วยเส้นสายสไตล์นอร์ดิกเห็นชัด ๆ จากรูปทรงของบ้านที่เป็นสามเหลี่ยมทรงสูง หลังคาซิงเกิ้ล (Shingle Roof)
แผ่นเรียบไม่มีชายคา แต่วัสดุ ที่นำเสนออารมณ์ ของตัวบ้านตกแต่งในสไตล์ลอฟท์ อย่างผนังปูนเปลือย ขัดมัน สลับอิฐโชว์แนว เน้นสีโทนดำ น้ำตาล เทา ตกแต่งบริเวณจั่ว ด้วยงานไม้เพิ่มมิติ ทางสายตาสวย ๆ และยังช่วยลดทอนความดิบแข็ง ของคอนกรีต ลงอย่างสมดุล
บ้านสไตล์นอร์ดิก เป็นอย่างไร
บ้านสไตล์นอร์ดิก เป็นรูปแบบ การตกแต่ง บ้าน ของชาวยุโรปเหนือ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เต็มไปด้วยเสน่ห์ ของความเรียบง่าย และในการตกแต่ง ล้วนก่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ต่อผู้อยู่อาศัย ซึ่งการตกแต่ง สไตล์นอร์ดิก ได้รับแรงบันดาลใจ มาจากธรรมชาติรอบตัวทั้งนั้น
ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของสี แสง หรือ แม้แต่วัสดุต่างๆ และหนึ่งในรูปแบบบ้าน ที่มีสไตล์นอร์ดิกชัดเจน และสวยงาม ก็คือโครงการของ SC Asset ภายใต้แบรนด์ “บางกอก บูเลอวาร์ด” เราเลยเอาไอเดีย การตกแต่งบ้านสไตล์นอร์ดิกในแต่ละมุม มาฝากกัน ว่าจะมีบรรยากาศ หรือ รูปแบบไหนบ้าง
บ้านนอร์ดิกผสมลอฟท์
โครงสร้างหลักของบ้าน ประกอบด้วยเหล็ก คอนกรีตขัดมัน อิฐ และไม้ ส่วนพื้นที่ใช้ชีวิตหลัก ๆ บริเวณห้องนั่งเล่นออกแบบเป็นโถงสูง Double Space ให้ความรู้สึกโปร่งโล่ง ซึ่งเป็นหนึ่งจุดเด่น ของสไตล์ลอฟท์ ห้อมล้อมด้วยผนังอิฐแดง สูง 2 เท่า โชว์พื้นผิวแบบสัจจะวัสดุ แทรกด้วยประตูหน้าต่างกระจก เติมความโปร่งเบาให้บ้าน
และทำหน้าที่ดึงแสงธรรมชาติ เข้าสู่บ้าน บนผนังจะสังเกตเห็น ท่อเหล็ก ที่ร้อยสายไฟเอาไว้ข้างในเน้นความเท่ แบบโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับการตกแต่งห้องนี้ ใส่ความคลาสสิค กับพัดลมวินเทจ ผสมตู้ไม้ยาวสไตล์โมเดิร์น เสริมความเก๋าปนหรูกับชุดโซฟาหนังแท้ที่ยิ่งใช้ยิ่งสวย ทรงบ้านโมเดิร์น
ด้วยความสูงจากพื้นถึงหลังคา ทำให้สามารถแบ่งพื้นที่ เป็นชั้นสอง มีแผ่นคอนกรีต และโครงสร้างเหล็กรองรับ เมื่อเงยหน้ามองหลังคาโชว์โครงสร้างเหล็ก เป็นแนวเรียงกันไปและวัสดุไม้อัด OSB ซื่งจะใช้คู่กับหลังคา Shingle Roof
โทนสีเทาของปูนขัดมัน ให้บรรยากาศสงบ แต่ดิบ หากมากเกินไปอาจจะทำให้รู้สึก ถึงความแข็งกระด้าง ที่ชวนให้อึดอัดได้ ในห้องนอนที่ต้องการความรู้สึกนุ่มนวล และผ่อนคลายมากขึ้น จึงเลือกใช้สีขาวทาผนังโชว์ แนวเหนือหัวเตียง ผ้าม่านใช้สีเทา
เตียง และตู้เลือกงานไม้สีอ่อน ๆ เข้ากับชุดเครื่องนอน สีเบจ เทา และน้ำตาล ผนังกระจกขนาดใหญ่ ติดผ้าม่าน 2 ชั้น ชั้นนอกโปร่ง ๆ สีขาวชั้นในสีเทาเลือกระดับ ความทึบตามชอบ ทั้งสี และวัสดุสร้างบรรยากาศ ช่วยให้การนอนหลับเต็มไปด้วยความรู้สึกละมุน และสบายในสไตล์นอร์ดิก
แชร์ไอเดียสุดเจ๋ง – บ้านนอร์ดิก งบน้อย
Shingle roof หรือ วัสดุมุงหลังคา เป็นวัสดุใหม่ ๆ ที่เคลือบหน้าด้วย ยางมะตอยชนิดหนึ่ง ทำมาจากแผ่นไฟเบอร์ ที่มีความแข็งแรงสูง ลักษณะเป็นแผ่นพื้นผิวเรียบ การติดตั้งต้องมีตัวแผ่นรอง หรือ ซับรูฟ (Sub Roof) ทำหน้าที่ป้องกันน้ำฝน และช่วยค้ำรองรับแผ่นผืนยางมะตอย วัสดุที่นิยมใช้คือไม้อัด OSB เป็นต้น ข้อดีของ Shingle roof มีหลากลาย
อาทิ สามารถสร้างสรรค์ทรงหลังคา ได้หลายรูปแบบ เข้ากับบ้านได้หลากสไตล์ มีราคาถูก เทียบกับหลังคาชนิดอื่นๆ แต่ในส่วนของการระบายอากาศ Shingle roof มีอายุอยู่ได้ประมาณ 20 ปี และในพื้นที่ ฝนตกชุกหลังคาจะดูดซับ ความชื้นได้ดี ทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย
บ้านนอร์ดิกหลังเล็ก เผยเสน่ห์หลังคาไร้ชายคา
ด้วยภาระด้านการงาน ด้านการเงิน การออกแบบบ้านให้มีความผ่อนคลาย ไม่สร้างภาระทางด้านจิตใจเพิ่ม นับเป็นสิ่งที่จะละเลยไม่ได้ เพราะจุดมุ่งหมาย ของการอยู่อาศัยในบ้านหนึ่งหลัง คงไม่ได้หมายถึง เพียงแค่มีที่ไว้ให้ซุกกายนอนเท่านั้น ย่อมต้องการความสุนทรียภาพในการพักผ่อน ช่วยลดทอนความวุ่นวาย คลายความเครียด ทำให้หัวใจได้รู้สึกอบอุ่น เหมือนว่าเป็นสถานที่ของเราอย่างแท้จริง
บ้านชั้นครึ่งหลังคา ทรงจั่ว ไร้ชายคา ออกแบบตามสไตล์นอร์ดิก ที่มีความเรียบง่าย ผสมผสานกับความเป็นโรงนาเก่า ด้วยจั่วหลังคาสูงโปร่งที่ตั้งใจให้เป็นจุดสะดุดสายตาได้ ในทันที กรุด้วยเมทัลชีทสีเทาเข้ม แผ่นโลหะที่เส้นสายไม่ซับซ้อน ตัดกับผนังบ้านที่ส่วนใหญ่ฉาบเรียบทาสีขาว เว้นเพียงด้านหน้าเท่านั้น ที่กรุด้วยหินก้อนใหญ่ ที่เป็นธรรมชาติ ทำให้บ้านไม่รู้สึกนิ่งจนเกินไป เพราะมีความแตกต่างของวัสดุซ่อนอยู่ด้วย
ภายในบ้านใช้ประโยชน์ จากพื้นที่แนวดิ่ง และแนวราบอย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มความคุ้มค่าในการใช้งานได้มากที่สุด เริ่มจากการจัดผัง แบบบ้าน Open Plan มุมนั่งเล่น ทานอาหารและครัวเชื่อมโยงกัน ไม่มีผนังมากั้นกลาง การจัดผังแปลน ลักษณะนี้ จะช่วยหลอกตาให้ภายในบ้านดูกว้างขวางยิ่งกว่าความเป็นจริง
เหล็กสีดำกับไม้สีน้ำตาล คือ สองวัสดุสำคัญ ที่คอยเติมชีวิตชีวา ภายในบ้านขนาดเล็กหลังนี้ พื้นของส่วนนั่งเล่น กับทานอาหารปูด้วยงานไม้ เพื่อให้ความรู้สึกอบอุ่น และผ่อนคลาย ส่วนพื้นตรงบริเวณห้องครัวใช้กระเบื้องสีดำ เพื่อให้ง่ายต่อการเช็ดทำความสะอาด และไม่ต้องกังวลเมื่อเลอะคราบอาหาร
บันไดบ้านใช้ขึ้นสู่ชั้นลอย ออกแบบไว้อย่างปลอดภัย โดยมีราวจับกันตกทั้งสองด้าน ดีไซน์ให้ปลอดโปร่งไม่มีลูกตั้ง พื้นที่ใต้บันไดจึงไม่รู้สึกอับทึบ แสงสว่างส่องเข้าถึงได้อย่างสะดวก
Assetdata แชร์ไอเดีย
บ้านที่ทำชั้นลอยตามทรงหลังคาจั่ว จำเป็นต้องมีตัวช่วยในการป้องกันความร้อน เพราะการอยู่ชั้นลอยที่ใกล้ชิดกับใต้โถงหลังคา จะได้รับความร้อนในระยะที่ใกล้ชิด อาจพ่นโฟมกันความร้อน ติดตั้งฉนวนกันความร้อน หรือ ทำการติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อน ก็สามารถช่วยได้ในระดับหนึ่ง ที่สำคัญคือชั้นลอย ต้องมีหน้าต่างระบายอากาศ ไล่ลมร้อนออกจากบ้าน ไม่เช่นนั้นห้องนอน บนชั้นลอย อาจกลายเป็นเตาอบได้
อ่านเพิ่มเติม : โรงแรม ตรัง โรงแรมเอเชีย ชะอำ ห้องครัว