ดอกไม้กลิ่มหอม ดอกมะลิ มะลิ เป็นไม้พุ่ม หรือไม้เถาในวงมะลิ มีประมาณ 200 ชนิด มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่เขตร้อน และกึ่งเขตร้อนในแถบทวีปยุโรป

ดอกไม้กลิ่มหอม ดอกมะลิ

ดอกไม้กลิ่มหอม ดอกมะลิ มาทำความรู้จักกัน

ถ้าพูดถึงมะลิ หลายคนคงจะรู้จักกันดีว่าเป็นดอกไม้ที่มีความหอมอันเป็นเอกลักษณ์ และ ใช้เป็นเสมือนสัญลักษณ์ในหลายๆ โอกาส เช่น สัญลักษณ์ของความรักระหว่างแม่กับลูก นอกเหนือจากดังกล่าวนี้ “มะลิ” ยังเป็นดอกไม้ที่มีสรรพคุณและประโยชน์ด้านสุขภาพแอบแฝง อยู่ด้วย

ลักษณะของมะลิ

  • มะลิ เป็นดอกไม้ที่ใช้แทนสัญลักษณ์ความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก
  • ต้นมะลิมีลักษณะเป็นพุ่มขนาดเล็กถึงกลาง มีใบประกอบตามกิ่งแบบขนนก ใบแหลม ก้านสั้น ส่วนดอกมะลิจะมีลักษณะเป็นช่อ 
  • ดอกมะลิสามารถนำมาลอยน้ำเพิ่มความหอมหรือต้มแต่งกลิ่นกับใบชาก็ได้ มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ หากนำมะลิไปเป็นส่วนประกอบทำน้ำมันหอมระเหย จะช่วยกระตุ้นระบบประสาทอีกด้วย
  • ดอกมะลิจากบางแหล่ง ใช้ยาฆ่าแมลงและสารพิษในการปลูก ฉะนั้นควรเลือกซื้อจากแหล่งที่มั่นใจได้ หรือปลูกที่บ้านโดยปราศจากสารเคมี

ทำความรู้จัก ดอกมะลิ

ดอกไม้กลิ่มหอม ดอกมะลิ

หลายคนอาจจะพอทราบกันมาบ้างว่า จริงๆ แล้ว มะลิ มีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ละพันธุ์มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไป โดยส่วนมาก มะลิจะมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลาง มีลักษณะกึ่งเลื้อย มีใบประกอบแบบขนนก ก้านใบสั้น ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบเข้าหากัน ขอบใบมีลักษณะเรียบ

ส่วนดอกมะลิจะมีลักษณะเป็นช่อ ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีทั้งชนิดกลีบดอกซ้อน เรียกว่า มะลิซ้อน และกลีบดอกไม่ซ้อน เรียกว่า มะลิลา มะลิทั้งสองชนิดมีสีขาวและกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ แต่ดอกมะลิลาจะหอมกว่า

สรรพคุณ

ในตำรายาของไทยระบุว่า ดอกมะลิจัดเป็นยารสหอมเย็น โดยมีการนำส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ราก ใบ ดอก ของมะลิมาใช้ในการปรุงยา ซึ่งจะให้สรรพคุณหลากหลาย เช่น ช่วยบำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย กระหายน้ำ ชูกำลัง  แก้ร้อนใน  แก้อาการปวดท้อง

นอกจากนี้ กลิ่นของดอกมะลิยังช่วยกระตุ้นระบบประสาทสำหรับผู้ที่มีภาวะอ่อนล้า อ่อนเพลีย ช่วยปรับอารมณ์ และบรรเทาอาการปวดศีรษะในผู้ที่มีความเครียดอีกด้วย

การนำมะลิมาใช้ประโยชน์

นอกเหนือจากการปลูกมะลิเป็นไม้ประดับบ้านและสวน หรือนำดอกมะลิมาร้อยมาลัยแล้วนั้น มะลิยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบ ดังนี้

ชามะลิ คนจีนโบราณนิยมนำมะลิมาใช้เป็นส่วนประกอบหลักในการปรุงแต่งกลิ่นของชาแบบดั้งเดิม โดยใช้กรรมวิธีอบดอกมะลิให้แห้ง แล้วนำมาต้มกับใบชา

ดอกไม้ปรุงแต่งของหวาน ในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะประเทศไทย มักนิยมนำดอกมะลิมาเป็นหนึ่งในวัตถุดิบในการทำของหวาน ไม่ว่าจะเป็นลอดช่อง วุ้นกะทิ รวมไปถึงขนมเชื่อมน้ำตาลต่างๆ ดอกมะลิช่วยเพิ่มความหอมของของหวาน และยังมีฤทธิ์เย็น เหมาะแก่การรับประทานตบท้ายอาหารคาว ช่วยเพิ่มความสดชื่น

ดอกมะลิลอยน้ำ นอกจากช่วยเพิ่มความหอมในการดื่มน้ำแล้ว ยังช่วยแก้กระหาย เพิ่มความสดชื่น บำรุงหัวใจ โดยการนำมะลมาลอยน้ำสามารถทำได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นนำมาลอยน้ำดื่มทั่วไป ลอยในข้าวแช่ หรือนำดอกที่แห้งแล้วมาต้มน้ำร้อนดื่มเป็นยาหอมก็ได้เช่นกัน

น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ เนื่องด้วยสรรพคุณจาก กลิ่นของมะลิ ที่นอกจากหอมแล้วยังมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท จึงมีการผลิตน้ำมันหอมระเหยที่สกัดเอาความหอมจากดอกของมะลิมาใช้เป็นส่วนผสมหลัก

ข้อควรระวังในการใช้มะลิ

ดอกไม้มีกลิ่นหอม

ถึงแม้ว่าดอกมะลิจะมีสรรพคุณและประโยชน์มากมาย แต่ในปัจจุบัน แหล่งเพาะปลูกมะลิหลายแห่งมีการนำสารเคมีมาใช้ในการดูแลต้นมะลิ เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี ดังนั้นไม่ว่าจะคุณจะนำใช้ประโยชน์จากมะลิในรูปแบบรับประทานหรือสูดดม ก็อาจทำให้สารพิษต่างๆ เข้าไปสั่งสมอยู่ในร่างกาย และก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

การซื้อ ดอกมะลิ จากตลาดหรือแหล่งซื้อทั่วๆ ไปมาใช้ อาจมีการปนเปื้อนของสารเคมี ซึ่งบางครั้งก็ไม่สามารถล้างสิ่งตกค้างเหล่านี้ให้หมดได้ เพื่อความมั่นใจและประโยชน์สูงสุดในการใช้ จึงควรใช้มะลิที่ปลูกด้วยตนเอง หรือนำมาจากแหล่งเพาะปลูกที่มั่นใจได้ว่าปราศจากสารเคมี

การขยายพันธ์มะลิ

การปลูกต้นมะลิ

มาดูวิธี การปลูกต้นมะลิ กันค่ะ ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมก็มีให้เลือกปลูกต้นมะลิด้วยตัวเอง 3 วิธี คือ การปักชำ การตอนกิ่ง และการทาบกิ่ง วิธีการปลูกต้นมะลิง่าย ๆ ออกดอกไว

1. ปลูกด้วยวิธีการปักชำ

อุปกรณ์

– กระถางปลูกต้นไม้

          – กรรไกรตัดกิ่ง

          – ถุงพลาสติกใสสำหรับคลุมกระถาง

          – วัสดุในการปักชำ ( ทราย ขี้เถ้า และน้ำยาเร่งราก )

          – วัสดุในการปลูก ( ดินร่วน ปุ๋ยคอก และขุยมะพร้าว )

วิธีทำ

1. นำทรายมาผสมกับขี้เถ้าในปริมาณเท่ากัน นำไปเทใส่กระถางปักชำที่เตรียมไว้ จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม

         2. คัดกิ่งพันธุ์มะลิที่ไม่แก่และไม่อ่อนจนเกินไป โดยตัดให้กิ่งนั้นยาวประมาณ 4 นิ้ว ลิดใบส่วนล่างออก ให้เหลือแต่ใบด้านบนเพียง 1 ใบ เพื่อลดการคายน้ำ (ถ้าอยากให้รากงอกเร็วกว่าปกติ แนะนำให้จุ่มกิ่งพันธุ์มะลิลงในน้ำยาเร่งราก ก่อนนำมาขยายพันธุ์)

3. นำกิ่งพันธุ์มาปักลงในกระถางปักชำที่เราเตรียมไว้ แล้วรดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าแฉะจนเกินไป

          4. นำถุงพลาสติกใสมาห่อหุ้มกระถางไว้ให้มิด เพื่อรักษาความชื้นให้สมดุล และตั้งในที่มีแดดรำไร

          5. รากจะงอกออกมาภายใน 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ย้ายมาปลูกในกระถางที่ใส่ดินร่วน ปุ๋ยคอก และขุยมะพร้าว

2. ปลูกด้วยวิธีการตอนกิ่ง

อุปกรณ์

– มีดควั่นและมีดติดตากิ่ง

          – ถุงพลาสติกห่อกระเปาะ

          – เชือกผูกวัสดุตอนกิ่ง

          – น้ำยาเร่งราก

          – วัสดุในการหุ้มกิ่งตอน (กาบมะพร้าว ขุยมะพร้าว หรือถ่านแกลบ)

          – วัสดุในการปลูก (ดินร่วน ปุ๋ยคอก และขุยมะพร้าว)

วิธีทำ

1. เลือกต้นมะลิที่แข็งแรงและสมบูรณ์ เลาะเปลือกไม้ที่กิ่งกระโดงออกหรือบริเวณกิ่งที่ไม่อ่อนและไม่แก่จนเกินไป จากนั้นก็ใช้มีดทำสวนควั่นให้เกิดแผลตรงที่เลาะเปลือกออก

          2. ทาน้ำยาเร่งรากลงไปบนแผลให้ทั่ว

          3. นำขุยมะพร้าวมาหุ้มแผลและพันทับด้วยกาบมะพร้าวชุบน้ำอีกครั้งให้เป็นกระเปาะ นำเชือกมามัดให้แน่นหนา และรดน้ำที่กระเปาะให้ชุ่ม

          4. นำถุงพลาสติกมาห่อหุ้มกระเปาะให้มิดชิด เพื่อรักษาความชื้น

          5. เมื่อสังเกตเห็นรากเริ่มงอกออกมาจากกระเปาะที่หุ้มไว้ ก็ควรตัดกิ่งตอนนั้นออกมาจากต้น แล้วนำไปปลูกลงในกระถางที่มีดินร่วน ปุยคอก และขุยมะพร้าว

3. ปลูกด้วยวิธีการทาบกิ่ง

อุปกรณ์

– ต้นมะลิที่แข็งแรงและสมบูรณ์ หรือต้นตอขนาดเล็กที่มีราก

          – วัสดุในการปลูก (ดินร่วน ปุ๋ยคอก และขุยมะพร้าว)

          – ถุงพลาสติก

          – เชือกหรือแผ่นพลาสติก

          – มีดทำสวน

          – ถุงปลูกเพื่อหุ้มราก

วิธีทำ

  1. คัดเลือกต้นพันธุ์ที่มีลำต้น แข็งแรงและสมบูรณ์ จากนั้นก็ทำการคัดเลือกต้นตอ ที่ขนาดเล็กกว่า ต้นหลักมาใช้ ซึ่งกิ่งของต้นตอนั้นจะต้องไม่มีก้านและใบติดอยู่

          2. นำดินปลูกและขุยมะพร้าวมาหุ้มรากต้นตอเอาไว้ จากนั้นนำถุงพลาสติกมาหุ้มทับ ผูกเชือกให้แน่น

 3. ใช้มีดทำสวนตัดปลายต้นตอออกให้เป็นรูปวงรีขนาด 3 นิ้ว

4. ใช้มีดทำสวนเฉือนกิ่งที่ต้นหลักให้เป็นรูปวงรีขนาด 6 นิ้ว

          5. นำรอยตัดของทั้ง 2 ต้นมาทาบให้สนิทกัน แล้วนำเชือกหรือแผ่นพลาสติก มาพันให้แน่น และรดน้ำ

          6. เมื่อกิ่งที่ทาบเริ่มโตและออกใบ ก็จัดการตัดกิ่งของต้นหลัก เพื่อนำต้นตอที่มีใบไปปลูก ในกระถางที่มีดินร่วน ปุ๋ยคอก และขุยมะพร้าว

อ่านบทความที่หน้าสนใจ : แบบบ้าน Villas Phuket รีวิวบ้าน phuket property บ้านเดี่ยว POOL VILLA บ้านจัดสรร PHUKET VILLA  ขายวิลล่าภูเก็ต ขายบ้านภูเก็ต invest in phuket property phuket villa for saleรีวิวบ้าน ขายวิลล่าภูเก็ต ขายบ้านภูเก็ต ซื้อบ้าน ตกแต่งบ้าน