บ้านแฝด 2 ชั้น ปัจจุบันรูปแบบบ้านไม่ได้มีแค่บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม หรือคอนโดมิเนียมอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีอีกหลายรูปแบบที่บางทีเราอาจจะเคยเห็นแต่ เรียกไม่ถูกก็เป็นไปได้ โดยเฉพาะ “บ้านแฝด” แฝดแบบไหนกันนะ มีกี่ประเภทกัน
บ้านแฝด 2 ชั้น
ทำความรู้จักกับกฎหมายบ้านแฝดกันก่อน
“บ้านแฝด” ตามข้อบัญญัติทางกฎหมาย ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (พ.ศ. 2522) หมายถึง อาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ก่อสร้างติดกันสองบ้าน มีผนังแบ่งอาคารเป็นบ้าน มีที่ว่างระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินติด กับตัวอาคารด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้างของแต่ละบ้าน และมีทางเข้าออกของแต่ละบ้านแยกจากกันเป็นสัดส่วน โดยมีขนาดที่ดินไม่น้อยกว่า 35 ตร.ว. บ้าน 2 ชั้น
นอกจากนี้ยังมีคำ จำกัดความในหมวด 3 (ที่ว่างภายนอกอาคาร) ข้อ 37 เพิ่มว่า บ้านแฝดต้องมีที่ว่างด้านหน้า และด้านหลังระหว่างรั้วหรือแนวเขต ที่ดินกับแนว ผนังอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร และ 2 เมตร ตามลำดับ และมีที่ว่างด้านข้างกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร
ปัจจุบันนอกจากบ้านแฝดที่มี การใช้ผนังติดกัน และใช้โครงสร้างทั้งหมดร่วมกันแล้ว ยังมีบ้านแฝดประเภทที่ มีโครงสร้างคานชั้นใต้ดินเชื่อมกันแทน โครงสร้างบนดิน ซึ่งบ้านแฝดประเภทนี้มีลักษณะใกล้เคียง บ้านเดี่ยวมาก แต่มีขนาดที่ดินน้อยกว่า แน่นอนว่าราคาก็ย่อมสูงกว่า บ้านแฝดแบบผนังติดกัน งั้นตอนนี้เราไปดูรูปแบบการแบ่ง บ้านแฝดแบบคร่าว ๆ ตามโครงสร้างกันดีกว่า
1 บ้านแฝดที่ใช้ผนังร่วมกัน
รูปแบบบ้านแฝดที่พบเห็นบ่อย และหลายคนคุ้นเคยมากที่สุด โดยบ้านแฝดแบบนี้ จะใช้ผนังด้านใดด้านหนึ่งร่วมกัน อีกทั้งส่วนที่ติดกันมักจะเป็นฟังก์ชันที่ ใช้งานเป็นหลักด้วย ดังนั้นก่อนซื้อบ้านควรศึกษา ก่อนว่าผนังก่อสร้างด้วยวัสดุ ประเภทไหน มีความหนาเท่าไหร่ มีเสียงทะลุหากันรึเปล่า เพราะปัญหาหลักของบ้านแฝด แบบนี้คือปัญหาเสียงนั่นเอง แต่ถ้าจำเป็นต้องซื้อก็อาจแก้ปัญหาด้วย การทำผนังเพิ่มอีกชั้นก็ได้
2 บ้านแฝดใช้ผนังร่วมกันเฉพาะฟังก์ชัน
บ้านแฝดประเภทนี้จะมีความ เป็นส่วนตัวมากขึ้น และมีเสียงรบกวนน้อยกว่าแบบบน ด้วยการใช้ผนังร่วมกัน เฉพาะฟังก์ชันรองหรือส่วน Service เช่น ห้องน้ำ ห้องเก็บของ หรือห้องครัวค่ะ
3 บ้านแฝดใช้คานด้านบนเชื่อมต่อกัน
เพื่อให้มีพื้นที่รอบ บ้านเพิ่มมากขึ้น ทางโครงการมักจะใช้ แนวคานเชื่อมกัน ผนังไม่ติดกัน หรือมีส่วนคานด้านบน และบริเวณโรงจอดรถเชื่อมต่อกันนั่นเอง รูปแบบนี้จึงตอบโจทย์ ความเป็นส่วนตัวมากกว่าเดิม
4 บ้านแฝดใช้คานชั้นใต้ดินเชื่อมต่อกัน
โครงสร้างบ้านแฝดรูปแบบนี้ ออกแบบให้คานใต้ดินเชื่อมต่อกัน ส่วนด้านบนจะไม่มี ส่วนไหนเชื่อมต่อกันเลย ทำให้มองเผิน ๆ เหมือนบ้านเดี่ยวมาก เพียงแต่ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ. 2543 กำหนดให้พื้นที่ตัวบ้านมีไม่ถึง 50 ตร.ว. อย่างไรก็ดีบ้านแฝดแบบนี้ก็ยังมีพื้นที่ บ้านมากที่สุด และราคาถูกก็กว่าบ้านเดี่ยวด้วยค่ะ
แบบที่ 1 บ้านแฝดสองชั้น สไตล์โมเดิร์น แต่งภายในสบาย
อาคารที่ใช้เป็นที่พักอาศัยก่อสร้างติดต่อกัน 2 บ้าน มีผนังแบ่งอาคารเป็นบ้าน มีที่ว่างระหว่างรั้วและแนวเขตที่ดินกับตัวอาคารด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างของแต่ละบ้าน และมีทางเข้าออกของแต่ละบ้านแยกกันเป็นสัดส่วน
นี่คือความหมายของบ้านแฝด ที่เราพบเห็นได้บ่อยๆในโครงการบ้านต่างๆ แต่แม้ภายนอกจะเหมือนกัน แต่ในส่วนของภายใน ไม่ว่าจะโทนสี เฟอร์นิเจอร์ การจัดวาง ย่อมมีความแตกต่างไปตามความพึงพอใจของเจ้าของบ้านหลังนั้นๆ
บ้านสองชั้นหลังนี้มีการแบ่งพื้นที่เหมือนกับบ้านส่วนใหญ่ทั่วๆไป ชั้นแรกจะเป็นพื้นที่ส่วนร่วม สำหรับครอบครัว อย่างเช่น ห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องทำงานเล็กๆ ห้องซักล้าง และห้องน้ำ 1 ห้องไว้ใช้จะได้ไม่ต้องเดินขึ้นไปใช้ข้างบน ชั้นล่างจะปูพื้นด้วยไม้สวยๆ บ้านแฝดสองชั้น
ส่วนชั้นบนเป็นส่วนของห้องนอน 3 ห้อง ห้องนอนใหญ1 ห้อง ห้องนอนเล็ก 2 ห้อง พื้นที่เหลือหน้าห้องนอนจัดเป็นมุมนั่งเล่น ดูทีวี ใครยังไม่นอน นอนไม่หลับก็ออกมาดูทีวี ดูหนังได้สบายๆ บริเวณด้านหลังบ้านปูสนามหญ้าสีเขียว ปลูกต้นไม้ไว้ริมกำแพง หากต้นไม้โตก็จะให้ความร่มรื่นแก่บ้านได้มากทีเดียว
แบบที่ 2 บ้านแฝดมินิมอล
Amular Home เป็นโครงการบ้านจัดสรรในประเทศอินโดนีเซีย ที่นำเสนอแนวคิด Minimalism & Reductionist สร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่ทำให้อยู่ได้สบาย ๆ ผ่านพื้นที่ที่เต็มไปด้วยแสงและอากาศจากธรรมชาติให้ได้มากที่สุด
ในขณะที่การบำรุงรักษาน้อยที่สุด รวมถึงกระบวนการก่อสร้างที่สั้นและมีประสิทธิภาพ (แล้วเสร็จภายใน 5 เดือน) เจ้าของบ้านสามารถเพิ่มการปรับเปลี่ยนในแบบที่สอดคล้องตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเปลี่ยนช่องว่างเป็นพื้นที่เพิ่มเติม การเพิ่มระเบียง ฟาซาดและกันแดดที่ตอบโจทย์สภาพอากาศและทิศทางของแสง-ลมที่ไม่เหมือนกัน
Rooma Aghili และ Rooma Aberri เป็นชื่อโครงการบ้านตั้งอยู่บนที่ดินผืนเดียวขนาด 15.6 x 12 เมตร เป็นบ้านแฝด 2 หลังที่มีพื้นที่ภายในต่างกัน สำหรับ 2 ครอบครัว ดีไซน์หลังคาเฉียงสูง แบบเพิงหมาแหงน มีฟาซาดไม้ระแนงที่บังแสงและช่วยพรางสายตาที่ชั้นบน สองบ้านนี้ใช้รั้วเดียวกั้น ระหว่างบ้านยังมีประตูไม้กรอบเหล็กบานเฟี้ยมที่สามารถเปิดออกได้ทั้งหมด เมื่อต้องการเชื่อมต่อบ้านทั้งสองหลังให้มีลานกว้าง ๆ สำหรับใช้งานร่วมกันได้
ฟาซาดพร้อมม่านบังแดดและระเบียงที่ช่วยระบายความร้อน ช่องเปิดขนาดใหญ่ในทิศทางที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มแสงแดดในส่วนที่บ้านต้องการ องค์ประกอบภายนอกและภายในยังใช้สีขาวเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ดูกว้างขวางและขับเน้นสีสันของเฟอร์นิเจอร์สีเทาเข้ม สีไม้ธรรมชาติให้เด่นชัดขึ้น แม้ว่าพื้นที่ของบ้านหลังนี้จะค่อนข้างเรียบง่าย แต่ก็ยังมีช่องว่างและช่องระบายอากาศที่เหมาะสม ทำให้บ้านเต็มไปด้วยสภาวะสบาย
ภาพรวมภายใน ตกแต่งในสไตล์ modern bern ชั้นล่างของบ้านเป็นฟังก์ชันการใช้งานส่วนกลาง ประกอบด้วย ห้องนั่งเล่น โต๊ะทานอาหาร และแพนทรีครัวขนาดกะทัดรัด พอดีกับการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ที่ไม่ค่อยได้ทำอาหารทานเอง และเพื่อเป็นการประหยัดพื้นที่ใช้งานไปพร้อมกัน สถาปนิกยังจัดให้แพนทรีซุกตัวอยู่ใต้บันได เป็นการบริหารพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ บริเวณชั้นล่างจึงค่อนข้างโปร่ง โล่ง สบายตา ไม่อึดอัดแม้จะมีพื้นที่ค่อนข้างน้อย ซึ่งบ้านทั้งสองหลังจะมีฟังก์ชันคล้ายกันแต่สามารถปรับเปลี่ยนได้
บันไดของบ้านทั้งสองหลังจะเป็นเหล็กสีขา วสะอาดตากรุทับด้วยลูกนอนไม้ไม่มีลูกตั้ง ให้อารมณ์ของบ้าน modern minimal ที่เน้นความน้อยอย่างลงตัว และยังช่วยให้บ้านดูโปร่ง การเดินทางของแสง และลมสามารถผ่านช่องว่างตรงส่วนนี้ได้ด้วย โดยเฉพาะมวลความร้อนที่จะลอยตัวขึ้นสู่ ที่สูง และระบายออกจากตัวบ้านผ่านทางชั้นบน ก็จะไหลเวียนและระบายถ่ายเทได้ดี
ที่ชั้นบนบริเวณระเบียงก็ไม่ปล่อยให้พื้นที่ว่างเปล่า สถาปนิกจัดเป็นพื้นที่ทำงานเล็ก ๆ ที่สามารถมองลงไปเห็นพื้นที่ใช้งานชั้นล่างได้อีก นอกจากจะใช้ประโยชน์ของพื้นที่ บ้านแล้วยังช่วยเชื่อมปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกที่อยู่ต่างระดับชั้นด้วย
ฝั่งตรงข้ามกับมุมทำงานเป็นห้องนอนที่ออกแบบภายในด้วย Mood&tone เดียวกันกับบ้านทั้งหลัง คือ เน้นสีขาวอ่อนๆ เป็นหลัก เสริมด้วยสีไม้ธรรมชาติโทนอ่อนเช่นกัน ในทุกห้องมีช่องเปิดขนาดใหญ่ให้รับทั้งแสง วิวรอบๆ และเปิดรับอากาศบริสุทธิ์ได้
ในการออกแบบบ้านให้อยู่สบาย ต้องคำนึงถึงตำแหน่งของช่องแสง เพื่อทำให้บ้านมีแสงที่ดีแต่บ้านไม่ร้อน หรือหากจำเป็นต้องมีช่องแสงในบริเวณที่รับแสงได้มาก ก็ใช้ตัวช่วยอย่างแนวต้นไม้หรือฟาซาดที่กรองแสงได้ นอกจากนี้ยังต้องใส่ใจกับทิศทางลม ที่จะช่วยทำให้ภายในบ้านให้มีอากาศถ่ายเท เติมคุณภาพอากาศภายในบ้านดีขึ้น
โดยควรเน้นการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติเป็นหลัก เช่น การระบายอากาศโดยให้ลมผ่านช่องเปิดในแนวนอน และการระบายอากาศแนวตั้ง โดยพยายามเปิดช่องว่างในแนวตั้ง อาจเป็นโถงสูง โถงบันได หรือแม้แต่ตัวบันไดที่โปร่ง ๆ ให้มวลอากาศร้อนลอยตัวขึ้นที่สูงและระบายออกในส่วนบนของอาคารได้ดี