บ้านโชว์อิฐ เส้นสายโมเดิร์น

บ้านโชว์อิฐ เส้นสายโมเดิร์น ผนังก่ออิฐโชว์แนว หรือ เรียกกันว่าผนังอิฐเปลือยนั้นจะ เป็นการก่ออิฐในลักษณะเรียงกัน โดยไม่มีการฉาบปูนทับหน้า เพื่อโชว์แนวอิฐ โดยอาจเลือกใช้อิฐที่มีลักษณะ และสีตามความต้องการ เช่น อิฐมอญสีส้ม อิฐขาว หรือจะใช้อิฐมอญเฉดสีต่าง ๆ มาผสมสลับกันก็ได้

บ้านโชว์อิฐ เส้นสายโมเดิร์น

บ้านโชว์อิฐ เส้นสายโมเดิร์น

เทคนิคทำผนังอิฐโชว์แนว เทียบความหนา

1.อิฐโชว์แนวแบบกันความร้อน MM Wall
เทคนิคการทำผนังลายอิฐโชว์แนวด้วยการใช้แผ่นฉนวนกันความร้อน 3 มิติ MMWall ซึ่งการติดตั้งทำได้โดยใช้กาว MM Glue ทาหลังแผ่น แล้วยิงด้วยตะปูลมเพื่อช่วยยึดให้แน่นหนามากขึ้น ตกแต่งร่องด้วยสีไฮไลท์ ตัวแผ่นสามารถตัดได้ เพื่อให้ง่ายและลงตัวต่อการเข้ามุม บ้านจัดสรร

2.อิฐโชว์แนวแบบบางเบา 4D Outdoor Wallpaper
เป็นเทคนิคการทำผนังลายอิฐที่เหมาะกับกลุ่ม DIY ทำด้วยตัวเองมาก ๆ เพราะใช้แผ่น 4D Outdoor Wallpaper แผ่นแต่งผนังลายอิฐที่มาพร้อมกับกาวหลังแผ่น ง่ายต่อการติดตั้ง เพราะแค่ลอกแผ่นกาวออกก็ติดตั้งเองได้แล้ว สามารถตัดแผ่นได้ด้วยกรรไกร หรือ คัตเตอร์ และไม่เหมือนกับวอลล์เปเปอร์ทั่วไป เพราะมีผิวสัมผัสเทคเจอร์ที่สมจริงยิ่งกว่า

3.อิฐโชว์แนวแบบโมเดิร์น 3D Interlock
อิฐโชว์แนวสำหรับคนที่รักความคลีน สะอาดตา ให้ความสวยแบบโมเดิร์น ต้องเลือกแผ่นแต่งผนังอิฐ 3D Interlock ที่มีสีขาว และ สีครีม แต่ทนแดด ทนฝนได้ดี แผ่นไม่ซีดเหลือง ไม่เป็นปัญหาต่อการติดตั้งภายนอก ติดตั้งโดยการสอดแผ่นเข้าหากันให้ลงล็อก และยึดด้วยสกรู สามารถตัดแผ่นได้

4.อิฐโชว์แนวแบบลอฟท์ Color Loft Kit
เป็นอีกเทคนิคทำผนังลายอิฐที่ทำด้วยตัวเองง่าย ๆ แค่มีชุดสี Color Loft Kit ที่มาพร้อมอุปกรณ์ทำผนังลอฟท์ เพิ่มดีไซน์ด้วยการติดเทปกาวสร้างช่องตารางแบบลายอิฐโชว์แนว จากนั้นผสมผงสี Color Loft Kit กับกาวประสานคอนกรีต แล้วใช้ฟองน้ำทาสีที่ผสมแล้วให้ทั่ว รอแห้ง ลอกเทปกาวออก แล้วเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบเงา M-100

5.อิฐโชว์แนวแบบผิวทรายระเบิด Stencil Concrete
เป็นเทคนิคของการทำคอนกรีตลอกลาย (Stencil Concrete) ระบบพ่น ขั้นตอนการทำคือ ติดกระดาษลอกลาย ลายอิฐโชว์แนว ไปที่ผนัง ผสมสีซีเมนต์ Color Seasons กับกาวประสานคอนกรีต ใช้ปืนพ่นสีที่ผสมแล้วให้ทั่วพื้นผิว สามารถใช้เกรียงขัดไปที่ผิวงาน เพื่อลดความคมลงได้ เมื่อสีเซตตัวดีแล้ว ดึงกระดาษลอกลายออก รอแห้ง แล้วเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบเงา M-100

6.อิฐโชว์แนวแบบลูกกลิ้งพิมพ์ลาย
เป็นเทคนิคขั้นตอนการทำแบบเดียวกันกับการทำผนังคอนกรีตพิมพ์ลาย เพียงแต่เปลี่ยนจากการใช้แม่พิมพ์แผ่น มาใช้เป็นลูกกลิ้งพิมพ์ลายแทน ซึ่งหากผนังมีพื้นที่งานมาก การใช้ลูกกลิ้งจะจบงานได้ช้ากว่าการใช้แม่พิมพ์แบบแผ่น แต่ลูกกลิ้งพิมพ์ลายสามารถนำไปใช้กับการ DIY พวกโต๊ะ เก้าอี้ กระถาง หรือเฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ ได้ง่ายและสะดวกกว่า

ไอเดียบ้านโชว์อิฐแดง

แบบที่1 บ้านผนังอิฐหลังคาเพิงหมาแหงน

บ้านโชว์อิฐ เส้นสายโมเดิร์น

หากใครเหนื่อยล้ากับการใช้ชีวิตวุ่นวายในเมือง แต่ไม่อยากเข้าป่า เพียงแค่ต้องการ “บ้าน” ที่รู้สึกว่าสามารถปลดพันธนาการให้รู้สึสกบาย และมีส่วนร่วมกับธรรมชาติบ้างเท่านั้นก็เพียงพอ อาจจะชอบแนวคิดการสร้างบ้านพักดีไซน์ง่าย ๆ ในท้องถิ่นที่ไกลจากเมืองสักหน่อย บริบทแวดล้อมยังมีต้นไม้ สายลม แสงแดด หรือสายน้ำให้สัมผัส ก็ลองแวะมาชมบ้านพักวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ตั้งอยู่ใน Meherabad, Ahmednagar อินเดีย ซึ่งออกแบบมาเพื่อนำเสนอสถานที่พักผ่อนอันเงียบสงบ สำหรับเจ้าของที่ต้องการหลีกหนีจากความเครียดในชีวิตประจำวัน ให้โอบรับการเชื่อมต่อระหว่างคน บ้าน และสิ่งแวดล้อม

The Inner Journey เป็นชื่อบ้านขนาด 167 ตารางเมตร ที่ออกแบบมาให้มีสิ่งรบกวนน้อยที่สุด เพื่อมอบการพักผ่อนอันสุนทรีให้กับผู้อาศัย โดยดีไซน์ไม่ยุ่งยากตรงกันข้ามกลับเรียบง่าย แต่มีความทันสมัยปนจิตวิญญาณของความเป็นพื้นที่ ผ่านรูปทรงหลังคาเฉียงสูงแบบเพิงหมาแหงน วัสดุที่มีทั้งเก่าและใหม่ อาทิ อิฐ ที่เป็นวัสดุหลัก ๆ ไม้ และกระจก ภายในมีพื้นที่นั่งเล่นกว้างขวาง ห้องครัว และห้องน้ำ บ้านได้รับการออกแบบเพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตในร่ม-กลางแจ้ง ด้วยหน้าต่างและประตูบานเลื่อนขนาดใหญ่ที่เปิดออกสู่ภายนอก ทำให้ภูมิทัศน์ธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งภายใน

การตกแต่งภายในบ้านเป็นแบบมินิมอลสไตล์ ด้วยเส้นสายที่สะอาดตาและการตกแต่งที่เรียบง่าย

หนึ่งในคุณสมบัติที่โดดเด่นของ The Inner Journey คือผนังก่อด้วยอิฐเปลือย ถูกกำหนดให้เป็นกำแพงคอร์เบล (สถาปัตยกรรมทำหน้าที่ค้ำยันชายคา) ที่สูงที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา การใช้ผนังก่ออิฐเปลือยเป็นการยกย่องสถาปัตยกรรมท้องถิ่นและความสำคัญของ Meherabad (อาศรมที่สร้างขึ้นโดย Meher Baba) กำแพงจึงไม่ได้เป็นเพียงผลงานทางสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง ความยืดหยุ่น และสามารถพบความสบายใจเมื่อเผชิญกับความท้าทายของชีวิตที่นี่

ภายในจัดแปลนชั้นที่เน้นเปิดโล่งแบบ open plan ลดการก่อผนังและห้องที่ไม่จำเป็นให้น่อยที่สุด เพื่อสร้างสเปซใหญ่ ๆ ในบ้าน และหน้าต่างบานใหญ่ช่วยให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามาได้อย่างเต็มที่ และดึงเอาทิวทัศน์อันสวยงามโดยรอบของ Ahmednagar เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน การใส่วัสดุกระจกระหว่างขอบบนของผนังและหลังคา ทำให้รู้สึกว่าหลังคาลอยตัวอยู่เหนือบ้าน และยังช่วยเปิดมุมมองในมุมสูงให้ดูวิวในช่วงกลางวัน ดูดาวในช่วงกลางคืนได้อีกด้วย

การตกแต่งภายในบ้านเป็นแบบมินิมอลสไตล์ ด้วยเส้นสายที่สะอาดตาและการตกแต่งที่เรียบง่าย การใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่น ไม้ อิฐ และหิน (สำหรับปูพื้น) ช่วยเพิ่มความอบอุ่นและพื้นผิวให้กับพื้นที่ สร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เพียงแต่เติมความรู้สึกสามัญธรรมดา (Ordinary) ยังติดดินใกล้ชิดธรรมชาติ (Down to earth) กับองค์ประกอบที่หาได้จากพื้นถิ่นไม่ปรุงแต่งมากมาย เมื่อทุกบริบทมารวมกัน จึงไม่ยากที่จะรับรู้ได้ถึงความสงบภายใน

บ้านหลังคาทรงเพิงหมาแหงน ที่มีด้านหนึ่งยกสูงแล้วเฉียงลาดต่ำลงทางด้านหลัง เป็นสถาปัตยกรรมง่ายๆ

บ้านจะมีมีฐานยกบ้านลอยขึ้น ป้องกันไม่ให้สัตว์เลื้อยคลานปีนขึ้นไปบนฐานและเข้าถึงตัวบ้าน นอกจากนี้ตัวบ้านยังมีรางน้ำเล็กๆ รอบบ้าน เพื่อดักป้องกันแมลงเข้ามา การออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากประเพณีของอินเดียที่อาหารถวายเทพเจ้า (Naivaidya) จะถูกล้อมรอบด้วยน้ำ แท่นนี้ยังต่อเชื่อมไปที่บ่อบ้ำกลมๆ ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำอเนกประสงค์หรือสระน้ำ ซึ่งสามารถใช้ว่ายน้ำในฤดูร้อนและเป็นพื้นที่สำหรับก่อกองไฟในฤดูหนาว เป็นความสวยงามโดดเด่นที่มาพร้อมการใช้งาน

บ้านหลังคาทรงเพิงหมาแหงน ที่มีด้านหนึ่งยกสูงแล้วเฉียงลาดต่ำลงทางด้านหลัง เป็นสถาปัตยกรรมง่ายๆ ที่นิยมใช้ในบ้านสวนหรือแม้กระทั่งโรงเก็บของ แต่ด้วยความที่เส้นสายของหลังคาเรียบง่ายชัดเจน ทำให้ยุคนี้จึงนำมาปรับสร้างบ้านสไตล์โมเดิร์นกันมาก และยังข้อดีของการสร้างบ้านหลังคาแบบนี้ปลูกสร้างได้ไว ราคาไม่สูง รั่วซึมน้อย กันแดดและระบายน้ำฝนได้ดี แต่ด้วยความที่หลังคาแหงนสูงด้านหน้า หากอยู่ในด้านที่แดดส่องและฝนสาดอาจทำให้ผนังด้านหน้าเปียกและกระเซ็นเข้าไปในบ้านได้ อาจจะต้องแก้ไขด้วยการทำหลังคากันสาดซ้อนอีกชั้น

แบบที่2 บ้านโชว์อิฐแดง เส้นสายโมเดิร์น

บ้านโชว์อิฐแดง เส้นสายโมเดิร์น

บ้านสองชั้นสไตล์โมเดิร์น เส้นสายเรขาคณิตเฉียบคมหลังนี้ สร้างอยู่ในเมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเจ้าของบ้านมีความสนใจใน “อิฐ” มากเป็นพิเศษ สถาปนิกจึงยึดวัสดุนี้เป็นเป็นข้อมูลอ้างอิงหลักในการออกแบบทั้งภายนอกและภายใน เพื่อสะท้อนตัวตนที่มีทั้งความทันสมัยจากเส้นสายและสีที่มีเพียงหลัก ๆ 3 สี นำมาจับคู่ให้ตัดกัน และความเคารพต่อวัสดุท้องถิ่นที่อยู่คู่อินโดนีเซียมาเนิ่นนาน

ภายในบ้านออกแบบให้มีความโปร่งโล่งและลื่นไหล ต่างจากภาพภายนอกที่ค่อนข้างปิด วางฟังก์ชันนั่งเล่น ครัว และห้องทานข้าวเอาไว้ด้วยกันในพื้นที่เดียว ผสมผสานความเป็นโมเดิร์นของเส้นสายเรขาคณิตและโทนสีธรรมชาติ ผ่านวัสดุปิดผิวที่ใช้แตกต่างหลากหลาย อาทิ ผนังฉาบคอนกรีตทาสีเทา สีขาว ผนังปิดวัสดุลายไม้ พื้นกระเบื้องสีขาว โต๊ะทานข้าวไม้แท้ชุดใหญ่คุมธีมสีให้ไปกันได้กับภายนอก

ภายในบ้านออกแบบให้มีความโปร่งโล่งและลื่นไหล ต่างจากภาพภายนอกที่ค่อนข้างปิด

ความพิเศษที่เห็นได้ชัดอยู่ที่ตำแหน่งบันไดของบ้านหลังนี้ ซึ่งจะอยู่ใจกลางบ้านพอดิบพอดีและมีที่ว่างบนผนังสูงหลายเมตร สถาปนิกรู้สึกว่าต้องทำอะไรให้น่าสนใจมากขึ้น จึงใช้อิฐดินเผาสีส้มอมแดงเรียงเป็นแถวขึ้นไปแบบไม่สลับหว่างจนเต็มพื้นที่สูงสองชั้น จากนั้นก็ทำบันไดลอยจากเหล็กสีดำแบบไม่มีลูกตั้ง พร้อมช่องแสงด้านบนเพื่อให้แสงแดดส่องเข้ามากระทบบริเวณบันไดสร้างมิติของแสงเงาในเวลากลางวัน กลายเป็นจุดไฮไลท์ที่ต้องจับตามอง

การที่บ้านมีเส้นตรงมากเกินไป หรือสีวัสดุดิบๆ อย่างคอนกรีตเปลือยในบริเวณกว้าง อาจจะทำให้ภาพรวมดูโมเดิร์นก็จริง แต่ก็ตามมาด้วยความรู้สึกแข็งกระด้าง การใส่เส้นโค้งเข้าไปในบางจุด เช่นระเบียง ซุ้มประตู กันสาด บันได หรือใช้วัสดุที่ให้ความารู้สึกอบอุ่นอ่อนโยนอย่างอิฐและไม้เข้าไปแทรก จะทำให้น้ำหนักของบ้านและอารมณ์ความรู้สึกมีความสมดุลมากขึ้น

บ้านอิฐ นอกจากจะเป็นวัสดุบ้านๆ ที่เพิ่มกลิ่นอายของธรรมชาติ

บ้านอิฐ นอกจากจะเป็นวัสดุบ้านๆ ที่เพิ่มกลิ่นอายของธรรมชาติ และสื่อถึงบรรยากาศแบบเขตร้อนแล้ว ในแง่ของคุณสมบัติของวัสดุก็สอดคล้องกับสภาพอากาศคือ อิฐเป็นวัสดุยอมให้ความร้อนถ่ายเทเข้าง่าย แต่จะค่อยๆ ถ่ายเทสู่ภายนอกช่วงค่ำ และไม่ดูดซับความชื้นเอาไว้ในตัวมากเกินไป แต่ก็จะยังคงรู้สึกร้อนมาก ๆ ได้หากอยู่ในโซนที่อากาศร้อนจัด หรือผนังบ้านหลักหันไปทางทิศตะวันตก ซึ่งสามารถรับแสงแดดได้เต็มที่หลายชั่วโมงต่อวัน ถ้ามีงบประมาณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการต้านทานความร้อน โดยทำเป็นผนังอิฐสองชั้นจะช่วยลดร้อนให้บ้านเย็นเห็นความต่างได้ชัดเจน