บ้านไม้สไตล์โมเดิร์น เน้นความคลาสสิค ให้เข้ากับธรรมชาติ

บ้านไม้สไตล์โมเดิร์น เน้นความคลาสสิค ให้เข้ากับธรรมชาติ

สัมผัส บ้านไม้สไตล์โมเดิร์น เน้นความคลาสสิค ให้เข้ากับธรรมชาติสความอบอุ่นในครอบครัว

บ้านไม้สไตล์โมเดิร์น การปลูกบ้าน หรือสร้างบ้านใหม่ส่วนใหญ่แล้ว คนมักจะนิยมสร้างบ้านเป็น บ้านไม้ กับ บ้านปูน ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ถือเป็นวัสดุพื้นฐานที่ คนนิยมใช้สร้างกัน ด้วยเหตุผลหลักคือ ให้ผู้อยู่อาศัยอยู่ได้สะดวกสบาย อากาศถ่ายเท แต่ทั้งสองอย่างนี้ก็มี รูปลักษณ์คุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปที่ไม่เหมือนกัน

โดยเจ้าของบ้านควร มีการศึกษาหาข้อมูล ให้ดีก่อนว่า บ้านที่เราจะอยู่นั้นเหมาะกับวัสดุชนิด ใดมากกว่ากัน ซึ่งเราจะมีข้อเปรียบเทียบพิจารณากันว่าบ้านไม้ กับบ้านปูน มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร โดยข้อมูลต่อไปนี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่สามารถดูไว้ เป็นตัวอย่างก่อนการสร้างบ้าน เพื่อประโยชน์สุดของคุณ

สัมผัสบ้านไม้สไตล์โมเดิร์น เน้นความคลาสสิค ให้เข้ากับธรรมชาติสความอบอุ่นในครอบครัว

อย่างแรกหากพูดถึง เรื่องการถ่ายเทอากาศ ภายในบ้าน บ้านไม้จะสามารถถ่ายเทอากาศได้ดี มากกว่าบ้านปูนทั่วไป เพราะมีช่องที่ลมสามารถ พัดผ่านเข้าออกได้มากกว่า บรรยากาศภายในบ้านไม้ จึงมาพร้อมความรู้ สึกที่สดชื่นอย่างเป็นธรรมชาติ และโปร่งสบาย ไม่อึดอัด ส่วนบ้านปูนถึงแม้จะไม่โปร่งสบายเท่าบ้านไม้ แต่หากมีการจัดวางใน ทิศทางลมที่เหมาะสม หรือทำช่องอากาศที่มีขนาดกว้างขวาง มากขึ้นก็จะช่วย ให้บรรยากาศภายใน บ้านปูนเย็นสบายมากยิ่งขึ้น

ส่วนบ้านไม้ปัญหา ที่ยังพบบ่อยคือ เกิดปัญหา เรื่องปลวกกัดกิน และทำความเสียหายให้บ้าน ได้มากกว่าบ้านปูน แต่บ้านไม้ก็เป็นบ้านที่มา พร้อมความแข็งแรง ทนทาน และสามารถยืดหยุ่น ได้มากกว่า โดยเฉพาะหากเกิด แผ่นดินไหว บ้านปูนสามารถ เกิดรอยร้าวได้ ง่ายกว่าบ้านไม้ ออกแบบห้องนอน 3 มิติ

ไอเดียบ้านไม้สไตล์โมเดิร์น

ไอเดียบ้านไม้สไตล์โมเดิร์น

หากใครเคยไปเยือน ประเทศออสเตรีย จะพบว่าสภาพภูมิอากาศจะค่อนข้างหนาวเย็น แดดน้อยมีฝนปรอย ๆ ทั้งวัน บรรยากาศอึมครึม ผู้คนที่นิยมใส่เสื้อโค้ททึม ๆ เมื่อรวมเข้ากับสถาปัตยกรรม ยุคเก่ายิ่งทำให้รู้สึกหดหู่ไม่สบายใจได้ง่าย การสร้างบ้านที่เติมความ “รู้สึกอบอุ่น” และให้ “สัมผัสความอุ่น” ด้วยดีไซน์โมเดิร์นผสมงานไม้จึงเป็นอีก ทางเลือกที่เราจะ เห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ เหมือน เช่นบ้านหลังนี้ ที่ดูปุ๊บประทับใจปั๊บ น่าลองนำมาปรับใช้ กับบ้านเราดูนะ

ที่ตั้งของบ้านอยู่ใน Elsbethen ชานเมืองทางตะวันออกเฉียงใต้ของ Salzburg ภูมิประเทศของพื้นที่ ก่อตัวเป็นเชิงเขามี ภูมิทัศน์ภูเขาโดยรอบ ทำให้เกิด ความลาดชันเล็ก ๆ จากตะวันออก-ตะวันตก บ้านจึงออกแบบให้ไหลลงไปตามลักษณะของพื้นที่

ไอเดียบ้านไม้สไตล์โมเดิร์น

ส่วนแนวคิดใน การออกแบบหลัก ๆ เจ้าของบ้านต้องการ “สถาปัตยกรรมในชีวิตประจำวัน” ที่มีความเรียบง่าย ความเป็นส่วนตัว บรรยากาศที่เปิดกว้างและสว่างไสว ตลอดจนการเชื่อมต่อ ที่ลื่นไหลระหว่างภายใน และภายนอก จึงเป็นที่มาของบ้านไม้ ปนคอนกรีตหลังคาจั่ว ตกแต่งระแนงไม้ที่เรียบ ๆ แต่ชวนให้ประทับใจ

หนึ่งโจทย์ที่เจ้าของ บ้านต้องการ คือ ทางเข้าที่มีหลังคา ทำให้ด้านหน้ามีคานคอนกรีตยื่นออก มาคลุมประตูทางเข้า ลักษณะคล้ายลาน บ้านที่มีการป้องกันซึ่ง สัมพันธ์กับถนน ให้ทั้งความเป็นส่วนตัว และความคล่องตัวผ่านเฉลียงและระเบียง

พื้นที่ใช้สอย ทั้งหมดสามารถโต้ตอบ กับพื้นที่เปิดโล่งที่ ปลอดภัยนี้ และยังสร้างการเชื่อมต่อกับ สวนทางด้านทิศใต้ นอกจากนี้หน้าบ้าน ยังมีม้านั่งไม้บิลท์อินติดผนัง ทำให้รู้สึกเป็นมิตร เหมือนบ้านญี่ปุ่นที่มัก มีที่นั่งให้เพื่อนบ้านในชุมชนได้แวะมานั่งพัก

การตกแต่งภายในค่อนข้างแปลกใหม่

การตกแต่งภายในค่อนข้างแปลกใหม่

แปลนอาคาร เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม และมีหลังคาลาดเอียง สอดคล้องกับบ้านโดยรอบ การตกแต่งภายใน ค่อนข้างแปลกใหม่ สำหรับบ้านใน โซนนี้เพราะ บ้านเต็มไปด้วยงานไม้ทั้งพื้น ผนัง เพดาน โอบอุ้ม ด้วยสัมผัส ความอบอุ่น ผนังกระจกขนาด ใหญ่ที่ดึงแสงเข้ามาได้มากขึ้น

แม้จะเป็นฤดูหนาว แต่บ้านไม่อึมครึม สเปซภายในเป็นพื้นที่ เปิดโล่งทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ชั้นล่างเป็นแปลนแบบ open plan เชื่อมโยงห้องครัว เตาผิง พื้นที่รับประทานอาหาร และห้องโถงเข้าด้วยกัน เพื่อการใช้ในชีวิตประจำวันที่สะดวก และใกล้ชิดกันมากขึ้น ในห้องนั่งเล่นยังมีเปลญวณ ผูกเอาไว้นอนเล่นดูวิวนอกบ้านในวันที่ สภาพอากาศไม่เป็นใจด้วย

เหนือมุมทานข้าว เลยมาถึงจุดนั่งเล่น จะเจาะเพดานขึ้นเป็นโถงสูง ซึ่งส่งผลในการใช้งานที่เป็น ประโยชน์กับ บ้าน ในหลายๆ ประการ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างชั้นล่าง และชั้นบนให้สื่อสารกัน ได้แบบไม่ขาดตอน การเปิดพื้นที่ ให้อากาศร้อนลอยตัวขึ้น และระบายออกจากตัวบ้านได้ดีในฤดูร้อน และยังสร้างเอกลักษณ์ เฉพาะตัวของบ้านไปพร้อมกัน ด้วยการติดตั้งเชือกใยยักษ์เป็นพื้นที่นั่งเล่น เหมือนสนามเด็กเล่นเข้า ไปในช่องว่างนั้น ทำให้บ้านมีความน่าสนุก

ชั้นบนก็ยังคง concept งานไม้ทำให้อุ่นเท้าเวลาเดิน ในชั้นนี้ก็มีเตาผิงขนาดใหญ่ติดตั้งอยู่ พร้อมกับเพิ่มความ สว่างผ่านช่องแสง skylight บนหลังคา ทำให้บ้านสว่างไสว มองไปทางไหนก็ รู้สึกว่าบ้านดูผ่อนคลาย เป็นมิตร น่าอยู่ในทุกฤดูกาล

บริเวณ บ้านฟาซาดระแนงไม้อยู่ตรง กับฟาซาดไม้ระแนงที่ช่วย พรางสายตาผู้คนที่ผ่านไปมาบนถนน ส่วนผนังชั้นในเป็นบาน ประตูกระจกใสเต็มพื้นที่ ผนังเฉียงเอียงไปตามรูปร่างหลังคา ห้องนอนจึงได้รับ ทั้งแสงธรรมชาติ วิวในมุมสูง เพิ่มบรรยากาศ ที่น่าอยู่แม้อากาศข้างนอก จะหนาวเหน็บเต็ม ไปด้วยหิมะ หมอก ฝน ก็ไม่ทำให้จิตใจหดหู่ซึมเศร้า ไปกับอากาศ

ข้อดีข้อเสียบ้านไม้

แนวคิดทางสถาปัตยกรรม ของบ้านเขตหนาวในอดีต จะก่อผนังปิดบ้านทึบเกือบทั้งหลัง มีช่องแสงขนาดเล็ก ๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิภายในบ้าน ไม่ให้อากาศเย็นที่ รุนแรงเข้าไปภายใน ซึ่งอาคารแบบนี้จะสัมพันธ์กับความทึบ มืด และชื้น เนื่องจากบ้านขาดพื้นที่รับแสง อาจทำให้การอยู่อาศัยไม่สบายและรู้สึกหดหู่ได้ง่าย ต่อมาในยุคใหม่จึงมี การปรับเปลี่ยนจาก ผนังทึบมาเป็นกระจกใส ต่อเติมบ้าน

เพื่อเป็นช่องทางรับแสง และควบคุมอุณหภูมิ ในบ้านให้อุ่นขึ้น โดยที่บรรยากาศของบ้านยัง สดชื่นสว่างขึ้นด้วย ทั้งนี้หาจะนำมาปรับใช้ในบ้านเขตร้อนจะต้องเลือกทิศทางติด ผนังกระจกที่แดดไม่ส่อง แรงในช่วงบ่าย และใช้กระจกแบบตัดแสง หรือ มีคุณสมบัติสะท้อนแสง เป็นต้น

ข้อดีข้อเสียบ้านไม้

ข้อดี

  • บ้านไม้มีความสวยงาม คลาสสิก ร่วมสมัยไม่ค่อยตกยุค
  • มีความแข็งแรง ทนทาน ว่ากันว่าบ้านไม้ มีความทนต่อแรงแผ่นดินไหว
  • ง่ายต่อการรื้อถอน หรือ ปรับปรุงตกแต่งเพิ่มเติม หากจะสร้างใหม่ก็แค่รื้อของเดิม และนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  • อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อึดอัดเวลาอยู่ภายในบ้าน
  • ให้ความรู้สึกบรรยากาศภายใน บ้านเป็นธรรมชาติ สดชื่น เพราะสร้างจากไม้

ข้อเสีย

  • ไม่สามารถป้องกัน สภาพอากาศ เช่น อากาศร้อน อากาศเย็น ในแต่ละฤดูได้ดีเท่าที่ควร เช่น ในหน้าร้อนบ้านไม้ จะร้อนกว่าบ้านปูน ในหน้าหนาวบ้านไม้จะเย็นกว่า เพราะลมหนาวจะลอด ผ่านเข้ามาภายในตัวบ้าน การแก้ไขสามารถทำได้ โดยการบุผนังด้านใน แต่อาจทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
  • อาจมีพวกปลวก มด แมลง มากัดเนื้อไม้ทำ ให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอยู่ตลอด
  • ไม่สามารถป้องกันฝุ่น ควัน หรือกลิ่นต่างๆ ที่จะเข้ามาในบ้านได้ดีเท่าที่ควร
  • หากสร้างบ้านโดยไม่ใช่ไม้เนื้อแข็ง ในระยะยาวอาจ ส่งผลให้ไม้ขาดความแข็งแรงแตกหักได้ ปัจจุบันไม้มีราคาสูง อาจทำให้เสียงบประมาณในการสร้าง บ้านเพิ่มมากขึ้น