แบบบ้านเรือนไทยที่ เหมาะกับ ภาคใต้

แบบบ้านเรือนไทยที่ เหมาะกับ ภาคใต้ ที่อยู่อาศัย จะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค ใกล้ท่าน้ำ ลำคลอง อ่าว และทะเล เพื่อสะดวกในการสัญจรและการทำมาหากิน คนไทยภาคใต้จะมี คติในการตั้ง บ้านเรือนไทย เช่น ปลูกบ้านโดยมีตีนเสารองรับเสาเรือนแทน การขุดหลุมฝังเสา เพื่อสะดวกในการโยกย้ายและเป็นการ ป้องกันมด ปลวก มีคติห้ามปลูกเรือนขวางตะวัน เพราะจะขวางเส้นทางลมมรสุมซึ่งอาจทำให้หลังคา ปลิวและถูกพายุพัดพังได้ง่าย วัสดุที่นำมาสร้างคือสิ่งที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น บ้านเรือนมีหลายลักษณะ มีทั้งบ้านเรือนเครื่องผูก หลังคาทรงจั่วและทรงปั้นหยา มีใต้ถุนเตี้ยเพราะมีลมพายุเกือบทั้งปีหากปลูกเรือนสูงอาจต้านทานแรงลม ทำให้เรือนเสียหายได้

แบบบ้านเรือนไทยที่ เหมาะกับ ภาคใต้

ลักษณะเรือนไทยภาคใต้ เป็นเรือนที่มีความคงทนถาวรและปลอดภัย ส่วนมากมีขนาดใหญ่กว่าเรือนเครื่องผูก เนื่องจากเรือนไทยเครื่องผูกเป็นเรือนที่มีมาก่อนเครื่องสับเรือนเครื่องผูกในภาคใต้ จึงเป็นแบบฉบับที่น่าศึกษาและโดยเฉพาะมีขนาดต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับขนาดจํานวนสมาชิก ฐานะทางเศรษฐกิจ และความจําเป็นของสัดส่วนใช้สอย เรือนเครื่องผูกที่มีขนาดเล็กมากจะมีขนาดประมาณ ๕x๖ ศอก ใช้เป็นเรือนพักเป็นครั้งคราว

แบบบ้านเรือนไทยที่ เหมาะกับ ภาคใต้

ลักษณะเรือนไทยภาคใต้

คนพื้นบ้านภาคใต้เรียกว่า “หนํา” เป็นเรือนยกพื้นครึ่งซีกมีผนังกั้น ๓ ด้าน ไม่จําเป็นต้องมีบันได เรือนเครื่องผูกรูปแบบนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับศาลากลางหนหรือศาลาริมทาง ซึ่งนิยมปลูกสร้างเป็นเรือนเครื่องสับ แต่ศาลากลางหนไม่นิยมกั้นฝา เรือนเครื่องผูกที่มีขนาดโตขึ้นมาอีกเล็กน้อย เนื้อที่ยกพื้นค่อนเรือน ผนังกั้น ลึกลงไปทั้ง ๔ ด้าน เว้นทางเข้าออกทางทิศเหนือหรือทางทิศตะวันออก ตรงกับส่วนโค้ง (ไม่ยกพื้น) ใช้เป็นเรือนพักผ่อน เรือนนอนของผู้สูงอายุหรือคนชราที่ต้องการความสงบ เรือนเครื่องผูกภาคใต้ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมชั่วคราวที่ปลูกสร้างขึ้นเพื่องานพิธีกรรมหรือเพื่อการละเล่น เช่น โรงหนังตะลุง โรงโนรา โรงเลี้ยง ฯลฯ

บ้านเรือนไทยภาคใต้ ที่มีขนาดพอจะจัดได้ว่าเป็นเรือนระดับครอบครัวที่เรียกว่าเรือนประธาน (เรือนหลัก) ตัวเรือนจะเป็นเรือน ๒ หรือ ๓ ส่วน มีการใช้สอยหลักคือ ห้องนอน ห้องครัว และส่วนที่ใช้พักร้อน โดยห้องครัวนิยมต่อชานเรือนทางด้านทิศเหนือหรืออาจต่อชานออกไปหลังคาปีกนกทางทิศตะวันตก แต่ถ้าเป็นเรือนขนาดใหญ่เรือนครัวจะปลูกสร้างเป็นเรือนพ่วงแบบหลังคา “ขวางหวัน” มีชานเชื่อมต่อกับเรือนประธานพื้นชานและครัวนิยมลดระดับ ส่วนเรือนไทยภาคใต้ที่มีขนาดใหญ่นิยมปลูกสร้างเป็นเรือนเครื่องสับ มีเรือนพ่วง เรือนเคียง

ซึ่งปลูกสร้างขยายต่อจากเรือนประธานเป็นเรือนหมู่มีชานเรือนซึ่งปลูกโล่งเป็นส่วนเชื่อม นิยมยกพื้นเรือนสูงจนสามารถใช้ประโยชน์จากบริเวณใต้ถุนบ้านได้ มีต้นเสาและบันไดขึ้นลงเพิ่มขึ้น เพื่อรับรอง จํานวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่อยู่อาศัยรวมกันแบระบบเครือญาติ ชานเรือนจะเป็นส่วนสําคัญในการติดต่อภายในเรือนหมู่ และใช้เป็นที่ นั่งเล่น เลี้ยงดูสมาชิกที่เป็นหลาน ลักษณะเรือนไทยภาคใต้ทั้ง ๒ ประเภทดังกล่าว มีลักษณะการสืบทอดพัฒนาสืบเนื่องกันมา เชื่อกันว่ามีรูปแบบอย่างเรือนชาวน้ําในภาคใต้ ซึ่งนิยมในลักษณะยกพื้นสูง

มีหลังคาทรงจั่วแหลม ตัวเรือนมีลักษณะทรงปลายสอบ มีต้นเสาทําด้วยแก่นไม้เนื้อแข็ง ดินเผา หิน และคอนกรีต หน้าต่างประตูมีบานคู่เปิดเข้าข้างในด้านจั่วหรือด้าน “หุ้มกลอง” ส่วนนอกนิยมตีฝาทึบจั่วตอนในที่โปร่ง คตินิยมในการปลูกสร้างจะหันหน้าบ้าน (หน้าจั่ว) ไปทางทิศตะวันออกเรียกว่าปลูกเรือนตามยาวหวั่น หรือ “ลอยหวัน” โดยเฉพาะเรือนประธานหากมีการขยายต่อเติมก็จะต่อเติมขยายทางด้านทิศเหนือและทางด้านทิศตะวันตก (หลังบ้าน) เรือนครัวที่ปลูกสร้างขึ้นอีกหลังหนึ่งจะปลูกต่อหลังบ้านจะเป็นเรือนที่มีลักษณะ “ขวางหวัน”

โดยไม่ถือเป็นข้อน่ารังเกียจแต่อย่างใด เรือนไทยภาคใต้ ที่มีลักษณะการต่อเติมตกแต่งเป็นแบบเฉพาะตนคือเรือนไทยมุสลิมภาคใต้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างอย่างชัดเจนในรูปแบบของเรือนเครื่องสับ อาทิ หลังคาปีกนกจะยื่นไปต่อกับปีกหลังคาด้านข้างเป็นลักษณะทรงปั้นหยา จั่วด้านหน้าจะมีลักษณะเป็นชั้นลดหลั่นกันลงมา ชานเรือน นิยมมุงหลังคาและต่อด้านหน้าออกมาเป็นกันสาดมีผนังสามด้านกั้นโปร่งตามคอเสา ช่อง และตัวปั้นลมด้านล่างประดับด้วยลายแกะสลักหรือสายฉลุไม้ ลวดลายเหล่านั้นมีแบบเฉพาะซึ่งได้รับอิทธิพลด้านศาสนา

ซึ่งประตูด้านหน้าจะตกแต่งต่อเติมทางเข้าให้มีลักษณะเป็นรูปโค้งเหมือนหลังคาโดม จะเห็นได้จากสุเหร่าและมัสยิด ซึ่งเป็นศาสนสถานของชาวมุสลิมวัสดุที่ใช้ในการปลูกสร้างบ้านเรือนเครื่องผูกส่วนใหญ่เป็นวัสดุที่หาได้ภายในท้องถิ่น เรือนเครื่องผูกจึงสะท้อนให้เห็นคุณค่าด้านความงามที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น และจัดเป็นสถาปัตยกรรมพื้นบ้านที่แสดงให้เห็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและคุณค่าทางความงามที่โดดเด่น ซึ่งขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ วัสดุพื้นบ้านภาคใต้ที่ใช้ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยได้แก่ เชือก หวาย ไม้ ไม้ไผ่ ใบปาล์ม ฯลฯ ซึ่งสามารถนําไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ กัน ดังนี้

แบบบ้านเรือนไทยที่ เหมาะกับ ภาคใต้
  • ไม้ไผ่ ไม้ไผ่ในภาคใต้มีหลายชนิด ขึ้นชุกชุมอยู่ทั่วไป จัดเป็นวัสดุสําคัญในการทําโครงสร้างของเรือนโดยเฉพาะเรือนเครื่องผูก โดยเอาไม้ไผ่มาใช้ทําเสา ตง คาน จันทัน แป แปทู อกไก่ เคร่าฝา ฯลฯ รวมทั้งยังสามารถนํามาผ่า เหลา ทําเป็นฟาก พื้นบ้าน ฝาเรือน กลอน หลังคา ตับจาก ตลอดจนใช้ ทําเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปด้วย
  • หวาย เชือก หวาย เชือกมีมากในภาคใต้มีหลายชนิด และหลายขนาด ใช้ผูกยึด ร้อยสานส่วนต่าง ๆ ของตัวเรือน ตั้งแต่โครงสร้างจนกระทั่งส่วนประกอบปลีกย่อย หวายจัดเป็นวัสดุที่นํา มาผ่าเหลาได้สะดวก มีความคงทนต่อการใช้งานได้ดีมากส่วนเชือกอาจต้องเลือกใช้โดยพิจารณาคุณลักษณะแสดงความเหมาะสม
  • ใบพืชสกุลปาล์ม ใบพืชสกุลปาล์มได้แก่ ใบจาก ใบตาล ใบลาน ใบสิเหรง ใบกระพ้อ ใบมะพร้าว ฯลฯ ซึ่งหาได้ง่าย ส่วนใหญ่นําเอาใบมาเรียงเย็บเป็นตับ ๆ ใช้มุงหลังคา กั้นฝา หรือทําเครื่องปูลาด ลักษณะการใช้อาจแตกต่างกัน บางแห่งใช้กั้นยืนทั้งทางมีไม้ผูกทับแนวให้เรียบตัดแต่งขอบริมให้ได้แนวเรียบร้อย
  • ไม้กลม ไม้กลมซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดต่าง ๆ นํามาปลอกเปลือกออกใช้ได้ทั้งดุ้นไม่ต้องแปรรูป เหมาะสําหรับทําเป็นโครงสร้างเรือนเครื่องผูกและโครงสร้างบางส่วนของเรือนเครื่องสับ
บ้านเรือนไทยสวยๆ

ลักษณะทั่วไป ของเรือนไทยในภาคใต้

เรือนส่วนใหญ่จะวางเสาไว้บนตอหม้อตีนเสาซึ่งจะก่ออิฐฉาบปูน เมื่อต้องการจะทำการย้ายบ้านก็จะปลดกระเบื้องลงตีไม้ยึดโครงสร้างเสาเป็นรูปกากบาทแล้วใช้คนหามย้ายไปตั้งในที่ที่ต้องการนำกระเบื้องขึ้นมุงใหม่ ส่วนใหญ่จะใช้ไม้ในการก่อสร้างรูปทรงของเรือนเป็นเรือนไม้ ใต้ถุนสูงประมาณคนก้มตัวลอดผ่านได้ เสาทุกต้นไม่ฝังลงดินเพราะว่าดินมันชื้น และก็จะทำให้เสาผุเร็ว แต่จะตั้งอยู่บนแผ่นปูนหรือแผ่นหินเรียบ ๆ ที่ฝังอยู่ ในดินให้โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินไม่เกิน 1 ฟุต เพื่อกันมิให้ปลวกกัดตีนเสาและกันเสาผุจากความชื้นของดิน ตีนเสา ตอนล่างห่างจากพื้นดิน ประมาณ 1- 2 ฟุตจะมีไม้ร้อยทะลุเสาทุกต้นตามความยาวของเรือนทั้ง 3 แถวเพื่อทำหน้าที่ยึดโครงสร้างของเรือนให้แข็งแรงมากขึ้น

ตัวเรือนกั้นฝาด้วยแผ่นกระดานตีเกร็ดตามแนวนอน กั้นห้องสำหรับเป็นห้องนอน 1 ห้อง อีกห้องหนึ่งปล่อยโล่ง ด้านหน้าบ้านมีระเบียงด้านข้าง เรือนเครื่องสับในภาคใต้จะทำช่องหน้าต่างแคบ ๆ หลังคาทำทรงจั่วถากจันทันให้แอ่นแบบเดียวกับเรือนไทย ภาคกลางแต่ทรวดทรงเตี้ยกว่าเล็กน้อย ติดแผ่นปั้นลมแบบหางปลา ไม่นิยมทำตัวเหงา

หลังคาเรือนไทยภาคใต้มี 3 ลักษณะ

หลังคาจั่ว
ในชุมชนที่ประกอบอาชีพกสิกรรมและประมงจะปลูกสร้างเรือนหลังคาทรงจั่ว ไม่มีการตกแต่งหน้าจั่ว วัสดุมุงหลังคาส่วนใหญ่ใช้จาก แต่บางเรือนที่มีฐานะดีจะ มุงกระเบื้องเพื่อความมั่นคงแข็งแรง ความลาดชันของหลังคาขึ้นอยู่กับวัสดุมุง หลังคาในท้องถิ่นนั้นว่าจะใช้กระเบื้องดินเผาหรือกระเบื้องขนมเปียกปูนหรือมุง แฝกจากเรือนเครื่องผูกหลังคาทรงจั่วปลูกสร้างง่ายด้วยตนเอง โยกย้ายได้ง่ายวัสดุ หาง่าย ส่วนเรือนเครื่องสับ สำหรับผู้มีฐานะดีหลังคาจั่วเป็นรูปตรงทรงไม่สูงตกแต่งหน้าจั่วยอด จั่วมุงนั้นด้วยกระเบื้องแผ่นสี่เหลี่ยมเชิงชาย และช่องลมใต้เพดานแต่งด้วยไม้ฉลุสวยงาม ตัวเรือนใต้ถุนยกสูงมีระเบียงและนอกชานลดหลั่นกัน

บ้านเรือนไทยหลังคาปั้นหยา

หลังคาปั้นหยา
มีความแข็งแรงของโครงสร้างหลังคาเป็น พิเศษหลังคาตรงหัวท้ายเป็นรูปลาด เอียงแบบตัดเหลี่ยมหลังคามุงกระเบื้องแผ่นสี่เหลี่ยม ตรงรอยตัดเหลี่ยมหลังคา ครอบด้วยกันน้ำฝนรั่ว หลังคาแบบนี้โครงหลังคา แข็งแรงมากสามารถทนรับ ฝนและต้านแรงลม หรือพายุไต้ฝุ่นได้ดีมาก ส่วนใหญ่อยู่ทางจังหวัดสงขลา

หลังคามนิลา หรือ หลังคาบรานอร์
หรือแบบรานอร์เป็นการผสมผสานหลังคาจั่วผสมหลังคาปั้นหยา คือส่วนหน้าจั่ว ค่อนข้างเตี้ยจะเป็นจั่วส่วนบนส่วนล่างของจั่วจะเป็นหลังคาลาดเอียงลงมารับกับ หลังคาด้านยาวซึ่งลาดเอียงตลอดเป็น เรือนไม้ใต้ถุนสูง เรือนแบบนี้ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดปัตตานี

โดยส่วนมากจะเป็นบ้านที่มีหลังคาแบบมนิลาหรือบรานอร์ และเพิ่มเติมลายไม้กลมฉลุไม้ที่ส่วนยอดซึ่งพบมากในชุมชนชาว ไทยมุสลิมหลังคาทั้ง 4 แบบ มีอยู่ทั่วไปแต่สัดส่วน ของหลังคาจะมีทรงสูงต่ำอย่างไร ขึ้นอยู่กับช่างก่อสร้างและวัสดุมุงหลังคาในท้องถิ่นนั้น เช่น ถ้าใช้กระเบื้องดินเผา หรือใช้ กระเบื้องขนมเปียกปูน หรือ มุงแฝกจาก ความลาดชันของหลังคาจะไม่เท่ากัน